งานสัมมนา Sustainability Forum 2023 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ Roadmap Thailand COP27
จากการประชุมระดับสูงของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 หรือ COP27 ที่ Sharm El-Sheikh International Convention Center สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกกระทบต่อทั่วโลกอย่างไรรวมถึงไทยด้วย ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ที่มีความเสี่ยงทางด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศของอาเซียนและก็เป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่ใช้ความสำคัญกับเรื่องนี้
อย่าง น้ำท่วมกรุงเทพฯ ล่าสุดเป็นน้ำที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ มีน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นท่วมทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและไหลท่วมในหลายพื้นที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องช่วยนำเครื่องสูบน้ำมาช่วยกรุงเทพฯนี้ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งสังคม เศรษฐกิจ เกษตรกร วันนี้ถึงเวลาที่ทุกคนในประเทศต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยรักษาโลกนี้ให้น่าอยู่และยั่งยืน
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
"วราวุธ" สั่งจัดระเบียบขยะตามแนวชายฝั่งทุกชุมชน แก้ปัญหาทิ้งขยะซ้ำซาก
แนวคิดการบริหารจัดการขยะ ดึงชุมชนร่วมลดขยะในลำคลองและยังช่วยสร้างรายได้
วราวุธย้ำ BCG ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอด เพื่อส่งต่อโลกให้คนรุ่นต่อไป
ประเทศไทยได้ประกาศในการประชุม COP26 ว่าไทยจะวางแผนในการลดก๊าซเรือนกระจก และก้าวเข้าสู่สถานะ Net zero หรือ Net zero greenhouse gas emissions ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2065 และ Carbon natural หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งได้ตั้งเป้าการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก จาก Maximum ของไทย 388 ล้านตันต่อปี ลงไปเหลือ 120 ล้านตันต่อปี
และในแผนระยะสั้น ประเทศไทยมีแผนที่ Nationally Determined Contributions หรือที่เรียกว่า NDC และจากนี้ไปจนถึง ปี ค.ศ. 2030 ตั้งใจว่าจะลดก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ 40% ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ผลักดันแผนงานต่าง ๆ เริ่มจาก ที่ประเทศไทยได้ลงนามสัญญา กับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศคู่แรกในโลกที่ได้เซ็นสัญญาแลกเปลี่ยนซื้อขายคาร์บอนเครดิตภายใต้เงื่อนไข ข้อ 6.2 ความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยไทยให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามโมเดลเศรษฐกิจ Biocircular Green Economy (BCG)
ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาแผนการปรับตัวระดับชาติ และส่งเสริมให้ชุมชนมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหา climate change โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการลด และควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูงเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิต และพฤติกรรมการบริโภค ให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชนต่อไป
นายวราวุธ กล่าวว่า “มีการพูดถึงคาร์บอนเครดิตเข้ามาจะเป็นการฟอกเขียวหรือไม่ เป็น Greenwashing หรือเปล่า ต้องบอกว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากบริษัทใหญ่เท่านั้น ยิ่งบริษัทใหญ่เท่าไหร่การปล่อยคาร์บอนฟรุ๊ตปริ้นยิ่งมากเป็นเท่าตัว เมื่อคุณสร้างปัญหาคุณก็ต้องช่วยแก้ปัญหา เรียนผูกก็ต้องเรียนแก้ และการมีแนวคิดเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตเป็นเรื่องสำคัญ แต่ความโปร่งใส่ในการดำเนินการ การซื้อขายต้องมีความรัดกุม ภาคเอกชนอย่ามองว่าเป็นต้นทุนหรือภาระ ในทางกลับกันจะเป็นจุดเด่นในการแข่งขันของบริษัทมากกว่า การลงทุนจากนี้ไปจะเป็นการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้เตรียมผลักดันร่างพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยหรือกฎหมายโลกร้อน ซึ่งเป็นกฎหมายแรกของไทยเพราะเดิมที่กระทรวงฯจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)แต่เลื่อนออกมาก่อนเนื่องจากว่าจะต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระให้มีความเข้มข้นมากขึ้นด้วยสถานการณ์การดูแลสิ่งล้อมในปัจจุบัน เพราะเดิมเป็นการเน้นให้ภาคอุตสาหกรรมสมัครในลดคาร์บอน แต่ปรากฎว่าไม่มีคนใจมาก ดังนั้นการปรับปรุงร่างพรบ.ใหม่จะเน้นไปที่ภาคบังคับมากขึ้น คาดว่าน่าจะเสนอเข้าครม.ได้ในต้นปีหน้า