svasdssvasds

ผลสำรวจเผยวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง

ผลสำรวจเผยวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง

จากวิกฤตสภาพอากาศที่เปลี่ยนแแปลงในปัจจุบันส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะความหลากหลายทางชีวภาพ ที่อยู่อาศัย หรือสุขภาพ รวมถึงพฤติกรรมการเดินทางซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้หันมาใช้วิธีการเดินทางที่ช่วยลดกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น

ผลสำรวจเผยวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง

จากผลการสำรวจจากบิตคอม (Bitkom) สมาคมดิจิทัลของเยอรมนี เผยว่าประชาชนในเยอรมนีกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางเนื่องจากกังวลถึงผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ซึ่งบิตคอมได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไป มากกว่า 1,000 คน โดยพบว่าเกือบทั้งหมดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางโดยพื้นฐานในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะร้อยละ 55 ระบุว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พวกเขาเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง

แบร์นฮาร์ด โรห์เลเดอร์ ซีอีโอบิตคอม ระบุว่าเยอรมนีกำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนด้านการเดินทาง โดยประชาชนต่างหันไปใช้จักรยานและบริการเช่ารถยนต์ (Car-sharing) ขณะเดียวกันผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม 4 ใน 10 ระบุว่าตั๋วโดยสารสาธารณะรายเดือน 9 ยูโร (ราว 333 บาท) ที่รัฐอุดหนุน และราคาแก๊สโซลีนที่เพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทาง

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

สมาคมบริษัทขนส่งเยอรมนี (VDV) ระบุว่าตั๋วประเภทดังกล่าวมีส่วนส่งเสริมการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมาก โดยมีตั๋วถูกจำหน่ายไปราว 52 ล้านใบทั่วประเทศ ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 1.8 ล้านตัน เทียบเท่ากับการบังคับใช้มาตรการจำกัดความเร็วระยะ 1 ปี โดยเยอรมนีเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่มีการจำกัดความเร็วโดยทั่วไปบนทางหลวง

ทั้งนี้ เยอรมนีตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 65 ภายในปี 2030 เทียบกับระดับในปี 1990 และบรรลุความเป็นกลางทางสภาพอากาศอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2045 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการเดิม 5 ปี

ผลสำรวจเผยวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง

ส่วนประเทศนั้นได้หันมาให้ความสำคัญกับการปล่อยมลภาวะมากขึ้น และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้โดยสารเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน พบว่า ผู้โดยสารมีความเห็นเชิงบวกว่าจะสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเดินทางทางอากาศได้ ด้วยการลดการใช้แก้วกระดาษ แก้วพลาสติก หรือถุงพลาสติก และสายการบินควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกในการให้บริการในห้องรับรองหรือบนเครื่องบิน

และยังมีนโบายสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ซึ่งเป็นการลดการใช้พลังงานฟอสซิล และหันมาใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเป็นไปตามที่ทั่วโลกเห็นถึงความสำคัญต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีและมาตรการต่างๆ รองรับเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการตั้งเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) และได้มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

Cr. www.xinhuathai.com / www.eppo.go.th