svasdssvasds

ลานีญาเพิ่มเต็ม 100 % และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบกับไทยอย่างไร ?

ลานีญาเพิ่มเต็ม 100 % และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบกับไทยอย่างไร ?

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ เปิดงานวิจัย ม.โคลัมเบีย และ NOAA เผย ลานีญาเพิ่มเต็ม 100 % และยืดเยื้อถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้า ส่งผลให้ฝนตกมากในภาคใต้ ส่วนเหนือ กลาง กทม. ปริมณฑล อีสาน ปัญหาฝุ่นพิษรุนแรงขึ้น

เมื่อกล่าวถึงปรากฏการณ์ลานีญา หากว่ากันถึงผลกระทบกับประเทศไทย ก็อาทิเช่น ในช่วงฤดูฝนจะทำให้มีฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ จึงมีโอกาสเกิดน้ำท่วมได้ ล่าสุด รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ถึงปรากฏการณ์ลานีญาในประเทศไทย ที่จะทวีความรุนแรง และยืดเยื้อถึงต้นปีหน้า ดังต่อไปนี้  

ลานีญาเพิ่มเต็ม 100%

รศ.ดร.วิษณุ ระบุว่า “ลานีญาเพิ่มเต็ม 100%! พร้อมกำลังที่เพิ่มขึ้น โดยจะทำจุดสูงสุดในเดือนหน้าและอาจยืดเยื้อถึงกุมภาพันธ์ ภาคใต้เตรียมรับมือน้ำท่วม จากปริมาณฝนที่จะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติช่วงพีคฝน (ตุลาคม -ธันวาคม 2565) ภาคใต้ ตะวันออก และตะวันตก จะมีฝนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึงภุมภาพันธ์ 2566 กรุงเทพฯ ปริมณฑล ตะวันออก และตะวันตกบางพื้นที่ เตรียมรับโปรลมหนาวกว่าปกติ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565

“ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 ทาง International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ Climate Prediction Center องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สหรัฐอเมริกา ได้พยากรณ์ว่า ความน่าจะเป็นที่จะเกิดลานีญาปรับเพิ่มจากเดือนที่แล้วเป็น 100%! ช่วง กันยายน - พฤศจิกายน 2565 โดยระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากเดิมและจะยืดเยื้อถึงกุมภาพันธ์ 2566 กำลังของลานีญาจะทำจุดสูงสุดในช่วงพฤศจิกายน และจะลดลงเรื่อยๆ สัญญาณเอลนีโญปีหน้า ยังมีน้อยและภัยแล้งน่าจะไม่กระทบมาก"

ลานีญาเพิ่มเต็ม 100 % และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบกับไทยอย่างไร ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาคใต้ ฝนตกมากกว่าปกติ

"โดยภาคใต้ของไทย ต้องเตรียมรับมือกับปริมาณฝนที่จะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติในช่วงพีคฝน ต้องระวังน้ำท่วมให้มากช่วงตุลาคม - ธันวาคม ฝนภาคใต้จะเพิ่มขึ้นจากนี้ไป ลานีญาที่ยืดเยื้อจะทำให้พื้นที่ตอนล่างของประเทศ (ภาคใต้ ตะวันออก ตะวันตก) มีฝนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ อย่างน้อยถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566"

เหนือ กลาง กทม. ปริมณฑล และอีสาน ประสบปัญหาฝุ่นพิษ บางพื้นที่หนาวกว่าปกติ

"ส่วนตอนบนของประเทศ ปริมาณฝนจะกลับมาเท่ากับค่าเฉลี่ยปกติ ขณะที่บางพื้นที่ของภาคกลาง อีสาน และเหนือ อาจเจอแล้งช่วงสั้นๆ ราวเดือนธันวาคม 2565 ดังนั้น จากนี้ไปปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ในปีนี้น่าจะรุนแรงกว่าปีที่แล้วเพราะฝนจะไม่ช่วยเหมือนปีที่ผ่านมา

"โดยโปรโมชั่นอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ จะน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ มีเพียงกรุงเทพฯ ปริมณฑล ตะวันออก และตะวันตกบางพื้นที่ ที่คาดว่าจะได้สัมผัสกับอากาศหนาวเย็นกว่าปกติช่วง พฤศจิกายน -ธันวาคม 2565 ขณะที่ภาคเหนืออุณหภูมิคาดว่าจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติจากนี้ไปอย่างน้อยถึงเดือนกุมภาพันธ์  ส่วนพื้นที่อื่นๆ อากาศจะหนาวเย็นเท่ากับค่าเฉลี่ยปกติ"

ลานีญาเพิ่มเต็ม 100 % และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบกับไทยอย่างไร ?

ลานีญาเพิ่มเต็ม 100 % และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบกับไทยอย่างไร ?

โดยสุดท้ายนี้ รศ.ดร.วิษณุ ระบุว่า เพราะฉนั้นต้องเตรียมรับมือกับปริมาณฝนที่จะมากกว่าปกติในช่วงฤดูฝนของภาคใต้ เตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยความไม่ประมาท เกษตรกรต้องระวังผลผลิตเสียหาย เตรียมทางระบายน้ำให้พร้อม ยกของขึ้นที่สูงกันไว้ และขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัยทุกคน ช่วงนี้อากาศจะเริ่มหนาวเย็นขึ้นเรื่อยๆ และฝุ่นพิษ PM2.5 กำลังจะกลับมาอีกไม่นาน การดูแลรักษาสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ข้างต้นก็คือคำเตือนจาก รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช ที่มีแนวโน้มว่า ปรากฏการณ์ลานีญาจะส่งผลกระทบกับไทยรุนแรงขึ้น และยืดเยื้อไปถึงต้นปีหน้า และหลายคนก็คงอยากทราบให้รายละเอียดขึ้นว่า ปรากฏการณ์ลานีญา รวมถึงเอลนีโญ คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร โดย SPRiNG เคยเล่าสู่กันไปแล้ว จึงขอนำมาให้ทบทวนกันดังต่อไปนี้ 

ปรากฏการณ์เอลนีโญ กับปรากฏการณ์ลานีญา แตกต่างกันอย่างไร ?

เอลนีโญ กับลานีญา เป็นปรากฏการณ์อากาศผันแปร ที่เรียกรวมกันว่า เอนโซ (ENSO) ที่ย่อมาจาก El Niño–Southern Oscillation ซึ่งหมายถึง ปรากฏการณ์อากาศผันแปรที่ซีกโลกใต้

โดยทั้ง 2 ปรากฏการณ์เกิดจากลมค้า หรือลมสินค้า (Trade Winds) ที่พัดจากมหาสมุทรแปซิฟิก ฝั่งตะวันออก (ทวีปอเมริกาใต้) ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ฝั่งตะวันตก (เอเชีย ออสเตรเลีย) ซึ่งหากลมค้าอ่อนกำลัง ก็จะส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่ถ้าลมค้ามีกำลังแรงกว่าปกติ ก็จะส่งผลให้เกิดลานีญา

แต่ถ้าเจาะลึกลงไปอีกว่า แล้วอะไรที่เป็นปัจจัยให้ลมค้าอ่อนกำลังหรือมีกำลังแรง คำตอบก็คือความต่างระหว่างค่าความกดอากาศของเกาะตาฮิติ กับเมืองดาร์วินในประเทศออสเตรเลีย หากมีความต่างกันน้อย จะส่งผลให้ลมค้าพัดเบากว่าสภาวะปกติ ทำให้เกิดปรากฏการ์เอลนีโญ

ในทางกลับกัน ถ้าค่าความกดอากาศของทั้ง 2 แห่งแตกต่างกันมาก จะทำให้ลมค้ามีกำลังแรงขึ้นกว่าสภาวะปกติ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ลานีญา

ปรากฏการณ์เอลนีโญ กับลานีญา จะส่งผลกระทบตรงข้ามกัน โดยหลักๆ แล้ว เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ผิดปกติ เช่น ฤดูฝน แต่ฝนกลับไม่ตก จนทำให้เกิดภัยแล้ง ในขณะที่ปรากฏการณ์ลานีญา จะทำให้เกิดสถานการณ์ที่มากเกินปกติ เช่น ในฤดูฝน ฝนก็จะตกกระหน่ำอย่างหนัก จนอาจทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ได้

ลานีญาเพิ่มเต็ม 100 % และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบกับไทยอย่างไร ?

ที่มา

FB : Witsanu Attavanich

ปรากฏการณ์เอลนีโญ กับปรากฏการณ์ลานีญา แตกต่างกันอย่างไร ?

related