วัคซีนโควิด19 มีมากมายหลากหลายยี่ห้อ แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ตามกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ mRNA เวกเตอร์ ซับยูนิต หรือ เชื้อตาย แต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร ข้อดี ข้อเสีย เป็นอย่างไร
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 เริ่มเห็นแสงสว่างตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2563 หลังจากที่มีวัคซีนผลิตออกมา และเห็นได้ชัดว่าประเทศที่มีการปูพรมฉีดวัคซีนแล้วมีอัตราการแพร่ระบาดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งวัคซีนโควิด19 ก็มีอยู่มากมายหลากหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแอสตราเซนเนก้า วัคซีนหลักของประเทศไทย ที่พัฒนาและผลิตโดยบริษัทแอสตราเซนเนก้าร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด หรือวัคซีนซิโนแวค จากประเทศจีน ทว่าคนไทยหลายคนก็ยังคงรอวัคซีนทางเลือกอย่าง ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค หรือ โมเดอร์นา ที่มีกระบวนการผลิตลำสมัย โดยใช้วิธีการ mRNA ทว่ายังไม่เคยมีวัคซีนที่ผลิตด้วยวิธีการนี้มาก่อน
วัคซีนโควิด19 มีทั้งหมด 4 รูปแบบได้แก่
1.วัคซีน mRNA
วัคซีนที่มีเทคโนโลยีการผลิตใหม่ที่สุด แน่นอนว่าทุกคนต้องเคยได้ยินกับคำว่า DNA แต่คำว่า RNA อาจจะไม่ค่อยได้ยินเว้นเสียแต่ว่าเรียนสายวิทยาศาสตร์ บ้างก็อาจจะลืมไปแล้ว แต่ RNA ซึ่งก็คือกรดนิวคลีอิกที่เป็นหนึ่งในสี่สารชีวโมเลกุลหลัก ร่วมกับลิพิด คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้ mRNA (messenger RNA: อาเอ็นเอนำรหัส) ในการชี้นำให้ร่างกายสังเคราะห์โปรตีนรูปแบบนั้นๆ ขึ้นมา กล่าวคือเป็นเหมือนพิมพ์เขียว ที่ต้องการให้ร่างกายสังเคราะห์โปรตีนขึ้นมา ร่างกายก็มีหน้าที่ในการนำวัตถุดิบต่างๆ ที่มีอยู่มาสร้างตามสูตรที่ mRNA แนะนำ
โดยวัคซีน mRNA อาศัยหลักการนี้ คือนำสูตรของไวรัสโควิด19 มาแล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย ให้ร่างกายผลิตเชื้อโควิด19 ขึ้นมาเอง แต่วัคซีนไม่มีกระบวนการควบคุมคุณภาพว่าสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นถูกต้องไหม แม้มันจะไม่ควรผิดก็ตามที
ข้อดี สะดวกและรวดเร็วต่อกระบวนการผลิต
ข้อเสีย ไม่เคยผ่านการรับรอง ทำให้ขาดความมั่นใจในการใช้
วัคซีนที่เคยได้รับการรับรองแล้ว ไม่เคย
2.วัคซีนเวกเตอร์
แน่นอนว่าคุ้นมากกับคำว่าเวกเตอร์หากเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมปลายมา ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของการบ่งชี้ทิศทาง และขนาด แต่วัคซีนเวกเตอร์นี้ หมายถึง เวกเตอร์ไวรัส (Vector Viral) เป็นรหัสพันธุกรรมบางส่วนของไวรัสที่ต้องการไปฝากไว้กับอีกไวรัสที่ไม่สามารถทำอะไรเราได้ แล้วค่อยนำเข้าสู่เซล และให้เซลผลิตไวรัสที่ปลอดภัยขึ้นมา วิธีการนี้คล้ายคลึงกับวัคซีน mRNA แต่จุดแตกต่างคือการนำไวรัสที่ปลอดภัยกว่าเข้าสู่ร่างกาย
ข้อดี ได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าวัคซีนแบบเชื้อตายและซับยูนิต
ข้อเสีย จำเป็นต้องเลือกชิ้นส่วนที่ปลอดภัยมาใช้ผลิต
วัคซีนที่เคยได้รับการรับรองแล้ว วัคซีนอีโบลา
3.วัคซีนซับยูนิต
วัคซีนซับยูนิต มีความคล้ายกับวัคซีนเวกเตอร์ คือเป็นการนำเข้าเฉพาะบางส่วนของไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ทว่าวัคซีนเวกเตอร์จะเป็นการนำบางส่วนของไวรัสที่ต้องการไปฝากไว้กับอีกไวรัสที่ปลอดภัยแล้วค่อยฉีดเข้าสู่ร่างกาย ในขณะที่วัคซีนซับยูนิตเป็นนำชิ้นส่วนนั้นๆ ของไวรัสที่ต้องการไปฝากไว้กับเซลสิ่งมีชีวิตอื่น แล้วค่อยสกัดผลผลิตที่ได้มาทำวัคซีนอีกที
ข้อดี สามารถเลือกจุดที่ต้องการภูมิคุ้มกันได้
ข้อเสีย อาจไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม ต้องเติมสารเคมีเพื่อกระตุ้น
วัคซีนที่เคยได้รับการรับรองแล้ว วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนไอกรน
4.วัคซีนเชื้อตาย
นี่เป็นวิธีการที่เก่าแก่ที่สุดในการผลิตวัคซีน คือการนำเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว หรือ ถูกทำให้อ่อนแอลง ฉีดเข้าสู่ร่างกาย หากเป็นเชื้อที่ตายแล้ว ประสิทธิภาพอาจจะด้อยกว่าเชื้อที่อ่อนแอ แต่ก็มีความปลอดภัยมากการเช่นเดียวกัน
ข้อดี ปลอดภัยเป็นอย่างมาก เพราะเชื้อตายแล้ว
ข้อเสีย ประสิทธิภาพอาจไม่ดีมาก
วัคซีนที่เคยได้รับการรับรองแล้ว วัคซีนโปลิโอ วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนโรคหัด