ไซยาไนด์ คืออะไร? อาการ ความรุนแรง ใช้ฆ่าเหยื่อได้ในไม่กี่วินาที cyanide มีทั้งแบบเม็ด และแบบน้ำ เป็นสาร (ก๊าซ) อันตราย และมีผลต่อร่างกายทำให้ ชัก หมดสติ และหยุดหายใจเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้
รู้จัก ไซยาไนด์ (cyanide) คืออะไร? มีหลายประเภท ที่พบบ่อย เช่น โซเดียมไซยาไนด์ (Sodium cyanide) โพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium cyanide) หรือพบในรูปเกลือชนิดอื่น ๆ เช่น แคลเซียมไซยาไนด์ (Calcium cyanide) ไอโอดีนไซยาไนด์ (Iodine cyanide) เป็นต้น
ข่าวที่น่าสนใจ
ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ หากกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่างจะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที แต่ถ้ามีอาหารอยู่เต็มกระเพาะแล้ว จะหน่วงเวลาเสียชีวิตเป็นหน่วยชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ไซยาไนด์จะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าสูดไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไปจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาที
ความรุนแรงของไซยาไนด์ก็มีผลกับความเร็วมาก อันตรายมากถ้าจับคนล็อกไว้ในห้องก๊าซขนาด 1x1x1 เมตร แล้วปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไปประมาณ 300 มิลลิกรัม เขาจะเสียชีวิตในทันที แต่ถ้าปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์ 150 มิลลิกรัมเข้าไป เขาจะมีเวลาอีกประมาณ 30 นาทีก่อนเสียชีวิต แต่ถ้าปล่อยก๊าซเข้าไปเพียง 20 มิลลิกรัม เขาจะยังไม่เสียชีวิต เพียงแต่จะมีอาการผิดปกติเล็กน้อยหลังจากนั้น
ไซยาไนด์หาง่ายมากยาเบื่อหนูนั่นเอง ใครโดนเข้าไปเหมือนขาดอากาศหายใจ กลไกการเกิดพิษของสารกลุ่มไซยาไนด์นั้น เกิดจากไปจับกับ Cellular Cytochrome Oxidase ทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้ (ยับยั้งการหายใจของเซลล์)
พิษของ cyanide เกิดจาก CN- จะจับกับโมเลกุลที่มีประจุบวก ที่สำคัญคือ โมเลกุลของ เหล็ก (Fe) ซึ่งมีทั้ง Ferrous (Fe 2+) ซึ่งอยู่ใน hemoglobin ปกติ และ Ferric ion (Fe 3+) ซึ่งอยู่ใน myoglobin ปกติ แต่ CN- จะจับกับ Ferric ion ได้ดีกว่า Ferrous ทำให้เมื่อ CN- เข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปจับกับ Ferric ion ใน myoglobin เนื่องจาก myoglobin ทำงานในระบบ electron transport ที่ mitochondria ทำให้ได้ พลังงาน น้ำ และ carbon dioxide เมื่อ CN- จับกับ myoglobin ก็จะขัดขวางไม่ให้ขบวนการ electrontransport ทำงานได้ตามปกติ เซลล์ของ ร่างกายจึงอยู่ในสภาพของ anoxia และเกิดภาวะ lactic acidosis ในที่สุด
สมองเป็นอวัยวะที่ทนต่อภาวะ anoxia ได้น้อยที่สุด ผู้ป่วยจึงมักมีอาการทางสมองเช่น ชัก หมดสติ มีการหายใจผิดปกติเนื่องจาก มีการกดศูนย์ควบ คุม การหายใจ แต่ผู้ป่วยไม่เขียว (cyanosis) ในช่วงแรก ๆ ถึงแม้ว่าจะหยุดหายใจเนื่องจากร่างกาย ไม่สามารถใช้ออกซิเจน ได้ ในทางการแพทย์สามารถยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจ Fundi จะพบว่ามีสีของเส้นเลือดดำและแดงใน retina ไม่แตกต่างกัน สำหรับใน chronic cyanide poisoning มักจะเป็นแบบ hypoxic encephalopathy อาจจะแสดงออก ในลักษณะ neuropsychiatry ส่วนเส้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (optic nerve) มักจะมีรายงานถึงพิษจาก cyanide เป็นแบบ optic nerve atrophy