บีทีเอส ยืนยัน อัตราค่าโดยสารใหม่รถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท ไม่ใช่เกมบีบให้ ครม.เห็นชอบการต่อสัมปทาน เพราะบีทีเอสไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเก็บค่าโดยสารอัตราดังกล่าว แต่เป็นการดำเนินการของ กทม. ที่เก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยาย ซึ่งเป็นส่วนงานที่ กทม. ดูแลและรับผิดชอบ พร้อมย้ำ ส่วนสัมปทานเดิม ที่อยู่ในความรับผิดชอบของบีทีเอส ไม่มีการขึ้นราคาแต่อย่างใด
จากกรณีผู้ว่า กทม. ประกาศอัตราค่าโดยสารใหม่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว สูงสุด 104 บาท ซึ่งจะเริ่มเก็บในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ ก่อให้เกิดข้อสงสัยต่างๆ ตามมามากมาย โดย คุณสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดสำนักงานใหญ่บีทีเอส ให้สปริงทำการสัมภาษณ์แบบถามกันจะจะ ตอบกันชัดชัด ไขทุกปัญหาคาใจ ดังต่อไปนี้
คุณสุรพงษ์ : คือผมเรียนว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส หรือสายสีเขียว มี 2 ส่วน คือ 1. ส่วนที่เป็นสัมปทาน และ 2.ส่วนต่อขยาย
1. ส่วนที่เป็นสัมปทาน (หมอชิต – อ่อนนุช) ที่อยู่ตรงกลาง ในส่วนนี้บีทีเอสเป็นฝ่ายเสนอค่าโดยสาร แล้ว กทม.เป็นฝ่ายให้ความเห็นชอบ ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน ทุกวันนี้ยังเก็บอยู่ที่อัตราเดิม 16 - 44 บาท
2. ส่วนต่อขยาย ซึ่งส่วนต่อขยายที่ 1 ก็คือส่วนที่ กทม. สร้าง แล้วก็ให้บริการ คือจากอ่อนนุช ไปแบริ่ง ท่อนหนึ่ง อีกท่อนหนึ่งก็จากวงเวียนใหญ่ ไปบางหว้า
ส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 คือ จากแบริ่ง ไปเคหะฯ สมุทรปราการ กับ หมอชิต ไปคูคต ที่เปิดให้บริการมาหลายปีแล้ว แต่เปิดเป็นส่วนๆ ไป เนื่องจากไม่ได้เสร็จในทีเดียว
และได้สร้างเสร็จทั้งหมดและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยท่านนายกฯ ประยุทธ์ เป็นประธานในพิธีเปิด นั่นก็คือจุดเริ่มที่ กทม. ต้องเก็บค่าโดยสาร (ส่วนต่อขยาย) เพราะเปิดให้บริการฟรีมานานแล้ว กทม.เขาก็มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องรับผิดชอบ
แต่เดิมกำหนดว่าวันที่ 16 มกราคม 2564 จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร แต่ได้มาเลื่อนมาเป็นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่อัตรา 104 บาท ตามที่เป็นข่าว
104 บาท ไม่ได้หมายความว่า 104 บาทตลอดสาย แต่หมายถึงอัตราค่าโดยสารสูงสุด เนื่องจากตรงกลางเป็นส่วนสัมปทาน กทม.เขาก็ไม่ได้มายุ่งในส่วนของบีทีเอส ที่ยังเก็บในอัตราเดิม 16 – 44 บาท
แต่เดิมเนี่ย ค่าโดยสารทั้งเส้น (คูคต – เคหะฯ) สูงสุดอยู่ที่ 158 บาท แต่ผมเข้าใจว่า กทม.ก็เป็นห่วงประชาชน โดยเฉพาะช่วงนี้ที่มีการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ ถ้าเก็บอัตราสูงสุด 158 บาท ประชาชน จะเดือดร้อนมาก กทม.ก็พยายามคิดสูตรที่ถูกที่สุดที่เขาทำได้ อัตราสูงสุดอยู่ที่ 104 บาท เพราะ กทม.เองก็มีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย
และมีเรื่องที่ผมคิดว่าทุกคนคงทราบแล้ว นั่นก็คือการเจรจาที่จะลดค่าโดยสารให้เหลืออัตราสูงสุดไม่เกิน 65 บาท (การขยายสัญญาสัมปทาน ปี 2572 – 2602)
ทั้ง กทม. ทั้งบีทีเอส ก็อยากเห็นค่าโดยสารอัตรานี้เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็อยู่ที่การพิจารณาของ ครม.
ส่วนอัตราค่าโดยสารสูงสุด 104 ผมต้องเรียนว่า มันเป็นส่วนของ กทม. แต่ของเราก็ยังเก็บในอัตรา 16 – 44 บาทตามเดิม ฉะนั้นเรื่องการเก็บ 104 บาท เป็นเรื่องของ กทม. เขาเป็นผู้พิจารณา ไม่ใช่เราเป็นผู้กำหนด
คุณสุรพงษ์ : เข้าไปก้าวล่วงไม่ได้ เพราะเป็นของ กทม. ครับ
คุณสุรพงษ์ : ก็อย่างที่เรียน (สัญญาการขยายเวลาสัมปทาน) กทม. กับคณะกรรมาการที่ตั้งขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย ภายใต้คำสั่ง คสช. ก็ได้มีการเจรจาเสร็จสิ้นไปนานแล้ว ระหว่างนี้รอการพิจารณาของ ครม.อยู่ ซึ่งตรงนั้น ผมว่าน่าจะเป็นค่าโดยสารที่ประชาชนรับได้ คือ อัตราสูงสุดไม่เกิน 65 บาท แทนที่จะเป็น 104 บาท
คุณสุรพงษ์ : ไม่ใช่หรอกครับ เพราะอย่างที่ผมเรียน คือส่วนต่อขยายทั้งหมด เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ซึ่ง ณ วันนั้น ก็ได้มีการประกาศแล้วว่า 16 มกราคม 2564 จะต้องเริ่มเก็บค่าโดยสาร (ส่วนต่อขยาย)
ทีนี้จะเก็บอย่างไร ถ้าตามที่ กทม.คิดไว้เดิม ตามมาตรฐานของรถไฟฟ้า จะต้องเก็บสูงสุดถึง 158 บาท กทม. ก็เห็นว่าอัตรานี้จะเป็นภาระกับประชาชน ก็พยายามทำตัวเลขที่คิดว่า กทม.พอรับได้
อันนี้อาจจะต้องไปถาม กทม. ตามที่ผมเข้าใจ กทม.ก็พยายามเก็บในอัตราที่เขาพอรับได้ และคิดว่าประชาชนพอรับได้ จึงออกมาที่อัตราค่าโดยสารสูงสุด 104 บาท ตามระยะทาง
คุณสุรพงษ์ : คือผมว่า ถูกหรือแพง มันมีหลายมติ 1. การลงทุน ต้องเรียนว่า สายสีเขียว ในส่วนของ กทม.หรือในส่วนของบีทีเอส มีภาระค่าก่อสร้าง 100 % ทั้งงานโยธา ทั้งงานระบบ แต่ถ้าเป็นของรัฐบาล (โครงการรถไฟฟ้า MRT) รัฐบาลจะช่วยออกค่าใช้จ่าย ในส่วนของงานโยธา
2. ระยะทางการให้บริการในแต่ละสายไม่เหมือนกัน สายสีเขียว สามารถนั่งได้ไกลสุดเกือบ 60 กม. ถ้าเทียบระยะทางกัน (MRT) ผมคิดว่า ค่าโดยสารไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ (สายสีเขียว) อาจจะถูกกว่าด้วยซ้ำ
คุณสุรพงษ์ : เอาตามที่ผมทราบนะ เราก็อยู่ฝั่งเอกชน แล้ว กทม.รับโอนรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายมาจาก รฟม. โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนได้รับความสะดวก เป็นผู้ให้บริการรายเดียว ประชาชนจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้าขณะเดินทาง แล้วค่าโดยสารก็จะได้เป็นอัตราเดียว
พอโอนทรัพย์สินมาให้ ก็โอนมาพร้อมกับหนี้สิน มันก็เป็นที่มาว่า กทม. ต้องทำอะไรในวันนี้ ซึ่งก็เข้าใจว่า กทม.ก็พยายามของบประมาณจากรัฐบาล แต่รัฐบาลก็อาจมีความลำบากในเรื่องของการให้ หรืออาจจะเป็นเรื่องข้อกฎหมาย จึงไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณให้ กทม. ได้
เมื่อ กทม.ต้องพึ่งตัวเอง มันก็มีวิธีเดียวคือ เจรจากับเอกชน แล้วก็นำรายได้อนาคตที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า เอามาใช้ในวันนี้ก่อน ก็เป็นที่มาของการขยายสัญญาสัมปทาน
คือวันนี้เมื่อเกิดเรื่องแล้ว กทม. ก็จะต้องหาเงิน ถ้าไปรอวันนั้น (หมดสัมปทาน) แล้วระหว่างนี้จะทำอย่างไร มันไม่มีทางเลือกอย่างอื่น ผมก็เข้าใจอย่างนั้น อันนี้น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด
คุณสุรพงษ์ : แน่นอนครับ คือต้นทุนแต่ละสายไม่เหมือนกัน สายสีเขียว รัฐบาลไม่ได้ช่วย กทม. จึงมีต้นทุนตรงนี้ สมมติว่า เขาผลักภาระมาให้เรา มันก็จะคิดเป็นต้นทุน แต่ถ้ารัฐบาลมาช่วยตรงนี้ ต้นทุนมันก็ลดลง ถ้ารัฐบาลช่วย ค่าโดยสารต้องถูกลงแน่นอน
อย่างมีคนชอบพูดว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบ้านเราแพง ผมขอถือโอกาสนี้อธิบายว่า ต่างประเทศ รัฐบาลจะให้การสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ บางประเทศก็ให้เงินโดยตรง บางประเทศให้พื้นที่ไปทำมาหากิน แล้วแบ่งรายได้ให้รัฐ ไปดูได้เลยครับ รถไฟฟ้าในต่างประเทศ รัฐจะอดหนุนช่วยเหลือ จึงทำให้ค่าโดยสารต่ำ
คุณสุรพงษ์ : การเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า ต้องเรียนว่า ในส่วนที่บีทีเอสดูแล คือส่วนสัมปทาน ก็ยังเก็บที่อัตราเดิม 16 – 44 บาท ทั้งๆ ที่ตามเงื่อนไขสัมปทาน บีทีเอสสามารถเก็บได้ 20 จนถึง 60 บาท แต่เราก็ไม่ทำ เราเก็บในอัตราที่คิดว่า เราอยู่ได้ ประชาชนอยู่ได้
ในส่วนของอัตราค่าโดยสารสูงสุด 104 บาท (ที่ กทม.ประกาศ) เราก็เข้าใจ เนื่องจากระยะทางยาวขึ้นมาก เพราะฉะนั้นค่าโดยสารมันก็ต้องเพิ่มขึ้นตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น
แล้ว กทม.เขาก็มีความจำเป็น ที่จะต้องนำรายได้ตรงนี้ไปใช้จ่ายในการเดินรถ เพราะฉะนั้นเขาก็มีความจำเป็นที่ต้องเก็บ 104 บาท
แต่ถ้าได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล หรือ ตามที่มีการเจรจา (ขยายสัญญาสัมปทาน) จะสามารถนำรายได้ในอนาคต มาใช้ก่อนได้ ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระลงไปได้ครับ