พามาดูกิจกรรมดีๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการศึกษาไทยให้ทันกับยุคที่เทคโนโลยีไปเร็ว อย่าง CP ALL Education Forum 2025 ปลุกการศึกษาไทย รับยุค AI
มีคำกล่าวที่ว่าฐานของตึกคืออิฐ ฐานของชีวิตคือการศึกษา ซึ่งการศึกษาที่ดีจะเป็นใบเบิกทางให้ชีวิตเราได้ ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเร่งพัฒนาการศึกษาให้ทัดเทียมนานาชาติ ปัจจุบันทั้งภาครัฐ และเอกชนไทย ต่างเดินหน้าส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่นในปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่ยุคนวัตกรรม เทคโนโลยี หรือ การที่มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกภาคส่วนของสังคมอย่างรวดเร็ว วงการศึกษาคือหนึ่งในภาคส่วนที่ต้องพลิกเกมส์ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การเตรียม “คน” ผ่านการศึกษาจึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ที่ภาคการศึกษาต้องรับมือให้พร้อม
ด้วยเหตุนี้ บมจ.ซีพี ออลล์ จึงได้ให้ความสำคัญอย่างมากเรื่องการศึกษา และส่งเสริมให้พัฒนาไปกับเทคโนโลยี โดยล่าสุดได้ร่วมกับ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) และโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดงาน “CP ALL EDUCATION FORUM 2025: สร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถ ผ่านการศึกษายุค AI” ตอกย้ำความมุ่งมั่นของซีพี ออลล์ ในการส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชน ก้าวสู่ 30 ปี ร่วมสร้าง “คน” ผ่านการศึกษา ให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงาน เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
โดยในช่วงเสวนาพิเศษ: “โอกาสและความท้าทายของการศึกษาไทยในยุค AI” มีวิทยากรมากมายทั้งจากจากวงการศึกษาอย่าง ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) และ ลาเต้-มนัส อ่อนสังข์ บรรณาธิการข่าวการศึกษาและแอดมิชชั่น เว็บไซต์ Dek-D
ทั้งนี้ภายในงาน สามารถสรุปประเด็นสำคัญ และประโยชน์ของ AI ต่อวงการศึกษาไทย ดังนี้ AI นอกจากจะมีประโยชน์ในการทำธุรกิจแล้ว วงการศึกษาไทยก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน AI และเทคโนโลยี มีบทบาทในเปลี่ยนแปลงการศึกษาอย่างมาก ต้องยอมรับว่าในอดีตองค์กรต้องการคนเก่ง แต่ปัจจุบันพบว่าองค์กรต้องการคนที่เรียนรู้เร็ว ปรับตัวได้เร็ว และเชื่อว่าคนที่ใช้ AI เป็นจะเข้ามาทดแทนคนที่ใช้ AI ไม่เป็นในเวลาอันใกล้นี้ ดังนั้นการสร้างการศึกษาจำเป็นต้องผสมผสานระหว่าง AI กับคนทำ AI ให้เกิดเป็นนวัตกรรมเพื่อเตรียมคนให้พร้อมในการทำระบบ เนื่องจากปัจจุบันโลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา คนเปลี่ยน ลูกค้าเปลี่ยน ต้องปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด
การศึกษาจะเน้นว่าทำอย่างไรจะให้ขยายผลได้ และปลูกฝังว่าไม่ต้องกลัว AI จะมาแทนคน เราต้อง ควบคุม และใช้ประโยชน์จาก AI ต่อยอดให้มากที่สุด พร้อมสร้างจิตสำนึกในการใช้ AI ว่าจะต้องมองถึงความเป็นมนุษย์ด้วย อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจากนี้ไป AI จะมาเร็วขึ้น และอาจถูกลง และจะเข้ามามีบทบาททางการศึกษามากขึ้น เช่น คุณครูใช้ AI ในการตรวจการบ้าน นอกจากนี้ยังมองว่านักศึกษาไทยจะนำ AI มาช่วยในการหาข้อมูล ทำรายงาน ค้นหาการแนะแนวการศึกษา ค้นหาข้อมูลหลักสูตรต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงการสร้างพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) ของตัวเองที่ง่ายขึ้น
ส่วนในวงการแพทย์ AI อาจเข้ามาช่วยคุณหมอในการวินิจฉัยโรค ทำประวัติ เวชระเบียน ข้อมูลคนไข้ ส่วนคนไข้อาจใช้ AI ในการหาข้อมูลโรคต่างๆ ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้จาก AI มักจะเป็นข้อมูลที่หยาบ จึงต้องนำมาต่อยอด และพัฒนาต่อ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมในการทำงาน มีความเป็นมนุษย์ และต้องมีกฎหมายมารองรับ ในส่วนของข้อเสีย AI ก็มี อย่างเช่น ความคิดแบบยืดยุ่น AI คิดไม่ได้ แต่คนเราทำได้ หากเราใช้ AI เข้ามาช่วยจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ง่ายขึ้น งานเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายได้ พร้อมเน้นย้ำว่าหากเราศึกษา AI ตัวใดตัวหนึ่งแล้วศึกษาอย่างลึกซึ้ง ทำให้มันคือเพื่อนช่วยในการทำงานเรา ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวว่า AI จะมาแย่งงาน
นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจว่า AI จะเข้ามาช่วยอะไรในวงการศึกษาไทย ตามรายละเอียดดังนี้
• AI เพื่อการศึกษา ต้องปรับตัวรับให้เร็ว
• AI ไม่ได้มาแทนมนุษย์ แต่เป็นเครื่องมือช่วย
• AI จะดีต้องเร่งผลักดันคนพัฒนาก่อน
• AI ต้องรับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรม
• AI ช่วยหาข้อมูล แต่ต้องนำไปต่อยอด
• AI ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพ ต้นทุนลดลง
• AI ช่วยเข้าถึงงานแนะแนวหลากหลายขึ้น
• AI ตรงจริตนักเรียนไทยที่ชอบถาม
• AI ช่วยหาข้อมูลสถานศึกษา-ทำ Portfolio-รายงาน
นอกจากนี้ภายในงานได้มีการชวนทุกคนสำรวจอนาคตของการศึกษาไทย ภายใต้บริบทโลกใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย AI และเสวนาพิเศษ: “The Changemakers: Social Effects in the AI Era” พบกับ เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ นักจิตบำบัดและอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง, หมอฟรัง นรีกุล เกตุประภากร แพทย์ KOL เจ้าของธุรกิจ เจ้าของเพจ LaohaiFrung และ ภูมิ-อภิภูมิ ชื่นชมภู นวัตกรวัยเยาว์ที่มีความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาการศึกษาและนวัตกรรม ช่วงเสวนานี้จะเปิดพื้นที่ให้ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Changemakers) จากหลากหลายวงการได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมของ AI และแนวทางในการปรับตัวของมนุษย์ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ภายในงานมีเครือข่ายการศึกษา คณาจารย์ นักเรียนเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน
พร้อมกันนี้ได้มีการมอบทุนการศึกษาให้กับเยาวชนไทย ผ่านเครือข่ายความร่วมมือกว่า 41,900 ทุน มูลค่ารวมกว่า 1,648 ล้านบาท ภายในงานขนทัพเหล่ากูรูผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและเทคโนโลยี จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อ พร้อมตัวจริงจากหลากหลายวงการ อาทิ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง นวัตกรรุ่นใหม่ ที่มาร่วมถ่ายทอดมุมมอง แบ่งปันประสบการณ์ ชวนค้นหาคำตอบการศึกษาไทยในยุคที่ “AI”
โดย นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ร่วมเปิดมุมมอง CP ALL Education Way – การเรียนรู้ที่เติบโตไปพร้อมโลกอนาคต ผ่าน 3 แนวทางสร้างคนผ่านการศึกษา “เก่ง ดี มีความสามารถ” 1. สร้างคน “เก่ง” เก่งคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) เก่งเทคโนโลยี (AI & Digital Skills) และเก่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
2. สร้างคน “ดี” เก่งอย่างเดียวไม่พอ โลกอนาคตต้องการคน “ดี” ที่มาจาก DNA ซึ่งเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนรวมถึงครู อาจารย์ทุกท่านที่ต้องร่วมกันปลูกฝังจริยธรรม ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจผู้อื่น พลังแห่งความดีนี้จะทำให้เยาวชนเติบโตเป็นคนที่ “คิดดี พูดดี ทำดี กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง” 3. สร้างคน “มีความสามารถ” พร้อมปรับตัว พร้อมเชื่อมโลก ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ Work-based Education ซึ่งผสานการเรียนรู้กับการทำงานจริง เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและความพร้อมในการก้าวสู่การทำงานทันทีหลังสำเร็จการศึกษา (Ready to work)