SHORT CUT
ทำความรู้จัก ไลดาร์ (LiDAR) เทคโนโลยีโลกอนาคตในการวัดระยะทางและสร้างภาพ 3 มิติ และช่วยให้โลกค้นพบเมืองสาบสูญ ในช่วงที่ผ่านมา
เชื่อหรือไม่ว่า ด้วยเทคโนโลยี ที่พัฒนามาอย่างมาก ทำให้ เราค้นพบอะไรหลายๆอย่าง , ช่วงปลายปี 2024 ในแวดวงโบราณคดีของโลก เพิ่งค้นพบ เมืองที่สาบสูญบนเส้นทางสายไหม ในบริเวณหุบเขาในอุซเบกิสถาน . และสิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญ ที่ช่วยไขความลับ ให้ได้เจอ เมืองที่สาบสูญครั้งนี้ นั่นคือ เทคโนโลยี ไลดาร์ (LiDAR)
หากใครที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงเทคโนโลยี อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า เทคโนโลยี ไลดาร์ (LiDAR) , แต่ในความจริงแล้ว นี่ไม่ใช่ เรื่องใหม่ เพราะ LiDAR ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1960 หลังจากที่มี เทคโนโลยีโซนาร์ (Sonar) และ เรดาร์ (Radar) ทั้ง 3 เทคโนโลยีมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกันแต่จะแตกต่างกันที่พลังงานในการรับส่งข้อมูล เนื่องจาก LiDAR จะเป็นการใช้คลื่นแสง ส่วน Sonar นั้นใช้คลื่นเสียง และ Radar เป็นการใช้คลื่นวิทยุ
ปัจจุบัน ไลดาร์ (LiDAR) ถือว่าเทคโนโลยีโลกอนาคตในการวัดระยะทางและสร้างภาพ 3 มิติ ก็ว่าได้ ซึ่งหากจะขยายความ ไลดาร์ (LiDAR) อีกนิด มันคือ กระบวนการวัดระยะทางและสร้างภาพ 3 มิติโดยใช้การส่งและรับสัญญาณแสงเลเซอร์ (laser) LiDAR ย่อมามาจาก "Light Detection and Ranging" หรือ "Laser Imaging, Detection, and Ranging"
เทคโนโลยีนี้มักถูกนำมาใช้ในหลายสาขาทางวิทยาศาสตร์และงานวิศวกรรม เพื่อให้ข้อมูลที่ละเอียดสูงเกี่ยวกับพื้นที่หรือวัตถุต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อม 3 มิติ หรือแม้กระทั่งสามมิติ
วิธีการทำงานของ ไลดาร์ (LiDAR) นั้น เริ่มจากการส่งแสงเลเซอร์ที่มีคลื่นยาวไปในทิศทางของพื้นผิวหรือวัตถุที่ต้องการวัดระยะ เมื่อแสงเลเซอร์ตกลงมาบนพื้นผิวหรือวัตถุนั้น ๆ และสะท้อนกลับมา เครื่องรับสัญญาณ ไลดาร์ (LiDAR) จะตรวจจับและวัดเวลาที่ใช้ในการส่ง-กลับ จากนั้นโปรแกรมคำนวณระยะทางโดยใช้ความเร็วของแสง ซึ่งเป็นค่าที่รู้จากลักษณะของแสงและเวลาที่ใช้ในการส่งกลับ
ขณะที่ ไลดาร์ (LiDAR) ในด้านของการสำรวจ ไลดาร์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมด 3 อย่าง คือ 1) ระบบ Sensor หรือ การวัดระยะทางด้วยเลเซอร์ 2) ระบบ GPS หรือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกเพื่อระบุตำแหน่งและความสูงของเครื่องรับสัญญาณ และ 3) Inertial Measurement Unit (IMU) หรือ เครื่องวัดอาศัยความเฉื่อยที่คอยช่วยในเรื่องการวางตัวของเครื่องบินหรือดาวเทียม โดยทั้ง 3 องค์ประกอบจะทำงานสัมพันธ์กันเพื่อให้ได้มาซึ่งของข้อมูลที่ต้องการ
ข้อมูลที่ได้จะอยู่ในรูปแบบจุด หรือที่เรียกว่า Point Clouds โดยในแต่ละจุดจะประกอบไปด้วยตำแหน่งทางราบและทางดิ่ง (x,y,z) เก็บข้อมูลได้ตั้งแต่วัตถุขนาดเล็กไปจนถึงสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งพื้นที่ต่างๆ บนผิวโลก ด้วยการสำรวจทางอากาศสำหรับสร้างเป็นแบบจำลองเชิงเลข ทั้ง DEM (Digital Elevation Model) และ DSM (Digital Surface Model) ส่วนความแตกต่างนั้นหากจะอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ DEM เป็นแบบจำลองความสูงเชิงเลขแสดงถึงพื้นผิวหรือลักษณะภูมิประเทศของโลกเท่านั้น ส่วน DSM นั้นเป็นแบบจำลองพื้นผิวเชิงเลขที่จะแสดงลักษณะพื้นผิวของสิ่งปกคลุมดินร่วมด้วย เช่น อาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือแม้กระทั่งเรือนยอดของต้นไม้
แบบจำลองความสูงเชิงเลขสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์พื้นผิวได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเส้นชั้นความสูง (Contour Line) พื้นที่การมองเห็น (Viewshed) ความลาดชัน (Slope) การตกกระทบของแสง (Hillshade) การหาปริมาตรในการขุดและถมที่ (Cut and Fill) ข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงแต่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านของการสำรวจเท่านั้น แต่ยังสามารถประยุกต์เพื่อหาทำเลที่ตั้งของบ้านพักหรือรีสอร์ทเพื่อให้ได้มุมมองที่ดีที่สุด
ส่วนงานด้านอื่นๆ ที่ถูก ไลดาร์ (LiDAR) นำไปใช้ประโยชน์ก็มีมากมาย เช่น งานด้านภัยพิบัติ, การสำรวจแม่น้ำเพื่อสร้างแบบจำลอง 3 มิติให้ทราบข้อมูลความลึกตื้น หรือการตรวจสอบน้ำท่วม , การสร้างแบบจำลองมลพิษ (Modelling of the pollution) แสดงถึงความหนาแน่นของมลพิษเพื่อนำไปบริหารจัดการเมืองให้ดีขึ้น หรืองานด้านโบราณคดีและการก่อสร้างอาคาร (Archeology and building construction) ที่ไลดาร์จะสามารถเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึงได้ ข้อมูลโครงสร้างของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง อาจเป็นการเก็บข้อมูลหรือเพื่อนำมาใช้วางแผนการบูรณะวัตถุและโบราณสถานก็ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง