svasdssvasds

จุดพลุไฟด้วยเทคโนโลยี AR เฉลิมฉลองแบบดิจิทัล ลดผลกระทบทางเสียง

จุดพลุไฟด้วยเทคโนโลยี AR   เฉลิมฉลองแบบดิจิทัล ลดผลกระทบทางเสียง

อีกหนึ่งทางเลือกในช่วงเทศกาล ! จุดพลุไฟด้วยเทคโนโลยี AR ใครๆก็ทำได้ - เฉลิมฉลองแบบดิจิทัล ไร้ผลกระทบทางเสียง- ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม

SHORT CUT

  • เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการจุดพลุเฉลิมฉลองปีใหม่ ได้ , ถ้าใช้เทคฯตัวนี้ ก็จะเป็นการ  ลดผลกระทบทางเสียง และสิ่งแวดล้อม
  • เทคโนโลยี AR ผสานโลกเสมือนเข้ากับความเป็นจริงผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ 
  • ขณะที่ยังคงความสวยงามตระการตาของดอกไม้ไฟ โดยผู้ชมสามารถปรับแต่งรูปแบบและสีสันได้ตามต้องการ  ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถลองเล่นกันได้ ผ่านแอปอย่าง "AR Fireworks" 

อีกหนึ่งทางเลือกในช่วงเทศกาล ! จุดพลุไฟด้วยเทคโนโลยี AR ใครๆก็ทำได้ - เฉลิมฉลองแบบดิจิทัล ไร้ผลกระทบทางเสียง- ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม

ค่ำคืนส่งท้ายปีเก่า 2024 เปลี่ยนผ่านสู่ปีใหม่ ปี 2025 บรรยากาศเต็มไปด้วยการเฉลิมฉลองทั่วทุกมุมเมือง แน่นอนว่ามีการจุดพลุเฉลิมฉลองเพื่อเพิ่มดีกรีแห่งความสุขสำราญด้วย 
.
อย่างไรก็ตาม การจุดพลุไฟ จุดดอกไม้ไฟ และการจุดประทัดเพื่อการเฉลิมฉลองต่างๆนั้น มีผลกระทบตามมาให้หลากหลายแง่มุม อาทิ ผลกระทบทางเสียง ที่อาจจะดังรบกวนคนและสัตว์  รวมถึงสารเคมี ที่เป็นผลพวงมาจากการจุดพลุซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย 

ในแง่มุมของเทคโนโลยีแล้วนั้น , จึงมีการคิดค้น สิ่งที่จะนำมาแทนการเฉลิมฉลองแทนพลุำฟ ไม่ว่าจะเป็นเลเซอร์ โดรน รวมไปถึง เทคโนโลยี Augment Reality หรือ เทคโนโลยีความจริงเสริม  ซึ่งต่างก็คิดค้นกันมาเพื่อลดผลกระทบจากการจุดพลุ 

ดังนั้น เราอยากลองให้มาทำความรู้จักกับ การจุดพลุ แบบ AR (Augmented Reality) ซึ่ง เป็นการแสดงดอกไม้ไฟเสมือนจริงที่ผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเข้ากับโลกจริง ผู้ชมสามารถรับชมการแสดงพลุผ่านอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น สมาร์ตโฟนหรือแว่นตาโฮโลแกรม โดยสามารถเลือกสีสันและรูปแบบของพลุได้ตามต้องการ

ข้อดีของพลุ AR คือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากมลภาวะทางเสียง และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการจุดพลุจริง

อีกหนึ่งทางเลือกในช่วงเทศกาล ! จุดพลุไฟด้วยเทคโนโลยี AR  ใครๆก็ทำได้ - เฉลิมฉลองแบบดิจิทัล ไร้ผลกระทบทางเสียง- ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม Credit ภาพ REUTERS
 

ในประเทศไทย มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในงานต่าง ๆ เช่น งานอีเวนต์ระดับโลก อย่าง กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 2023 ก็มีการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหัวใจหลักของพิธีเปิดอีกด้วย ใช้มันช่วยสร้างสรรค์แม่น้ำเฉียนถังและสะพานกงเฉิน เชื่อมอดีตและปัจจุบัน ด้วยการใช้ Visual Effect สร้างภาพ 3 มิติที่ดูด้วยตาเปล่า, เทคโนโลยีเสมือนจริงผสานโลกความจริง (AR) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) , นอกจากนี้ การจุดคบเพลิงที่เป็นไฮไลท์ของพิธีเปิด ยังมีการผสมผสานระหว่างการจุดคบเพลิงจริงและการจุดคบเพลิงในโลกดิจิทัล

ส่วนการแสดงพลุในหางโจว เกมส์ ไม่ได้มีการจุดพลุดอกไม้ไฟจริง เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน โดยเปลี่ยนเป็นการจุดพลุเสมือนจริงผ่านการแสดงบนจอขนาดยักษ์เท่ากับจอภาพยนต์ไอแมกซ์ 9 จอ

นอกจากนี้ ยังมีแอปพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้สามารถสร้างและชมการแสดงพลุ AR ได้เอง เช่น แอป "AR Fireworks" เพราะนี่คือแอปที่ แสดงดอกไม้ไฟ AR ได้ตลอดเวลา ไม่มีผลกระทบทางเสียง แถมเติมความเป็นจริงที่ช่วยให้คุณตั้งค่าดอกไม้ไฟได้ทุกที่ทุกเวลา ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังจุดพลุดอกไม้ไฟในโลกแห่งความเป็นจริงสวยงามจริงโรแมนติกและเคลื่อนไหว

การใช้เทคโนโลยี AR ในการแสดงพลุเป็นแนวทางใหม่ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความปลอดภัย ขณะเดียวกันยังคงความสวยงามและความสนุกสนานของการชมดอกไม้ไฟ

อีกหนึ่งทางเลือกในช่วงเทศกาล ! จุดพลุไฟด้วยเทคโนโลยี AR  ใครๆก็ทำได้ - เฉลิมฉลองแบบดิจิทัล AR Fireworks  ไร้ผลกระทบทางเสียง- ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม Credit ภาพ  AR Firework

ลองเล่นกันที่ แอป AR Fireworks 

ทำความรู้จัก   Augmented Reality (AR) คืออะไร ?

Augmented Reality (AR) คือเทคโนโลยีที่นำข้อมูลเสมือนมาผสมผสานกับโลกความเป็นจริง ทำให้ผู้ใช้เห็นภาพที่มีการปรับปรุงและเสริมสร้างด้วยข้อมูลเสมือน ระบบ AR สามารถใช้งานได้ผ่านหน้าจอของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือแว่นตาเสมือน

 Augmented Reality (AR) เป็นเทคโนโลยีที่เปิดประสบการณ์ใหม่ในการมองเห็นโลกโดยการผสมผสานข้อมูลเสมือนลงไปในความเป็นจริง หลักการทำงานของ AR สามารถอธิบายได้ดังนี้

1. การรับข้อมูลจากโลกความเป็นจริง: เทคโนโลยี AR ใช้กล้องหรือเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ในการส่งข้อมูลจากความเป็นจริงมายังอุปกรณ์ ข้อมูลนี้จะถูกนำไปประมวลผลเพื่อให้เทคโนโลยี AR รู้ว่าวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในภาพคืออะไร

2. การประมวลผลข้อมูล: หลังจากที่รับข้อมูลจากโลกความเป็นจริง ระบบ AR จะประมวลผลข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์พิเศษ เพื่อทำความเข้าใจวัตถุ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ หลังจากนั้น ระบบจะนำข้อมูลเสมือนมาผสมผสานกับภาพความเป็นจริงที่มาจากกล้อง

3. การแสดงผลลัพธ์: เมื่อระบบประมวลผลข้อมูลเสร็จสิ้น ภาพเสมือนที่ผสมผสานกันระหว่างความเป็นจริงและข้อมูลเสมือนจะถูกแสดงผลผ่านหน้าจอ, แว่นตา AR หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามที่ผู้ใช้มีอยู่ ผลลัพธ์นี้จะทำให้ผู้ใช้เห็นข้อมูลเสมือนรวมกับความเป็นจริง

4. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม: เทคโนโลยี AR สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทั้งการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ และการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือสิ่งแวดล้อม โดยอัตโนมัติ นำไปสู่ประสบการณ์ที่ยืดหยุ่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น

5. เทค AR - ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ : หนึ่งในความสามารถที่น่าสนใจของ AR คือการที่ผู้ใช้สามารถปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลเสมือนที่ถูกนำเข้ามาในความเป็นจริง ผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้าย หรือจัดการกับข้อมูลเสมือนในระบบ AR นั้น ๆ โดยตรง

เทคโนโลยี AR มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมในอนาคต การนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการศึกษา การแพทย์ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม อาจนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิต และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อไปนี้คือความสำคัญของการนำเทคโนโลยี AR ไปใช้ในอนาคต

ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา ให้สามารถสื่อสารความรู้และข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทำให้นักเรียน นักศึกษา และผู้เรียนรู้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา


ในฐานะเครื่องมือในการฝึกอบรม การนำเสนอข้อมูลสำหรับการฝึกหัด หรือการสำรวจสถานที่ทำงาน ทำให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบเสมือน ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งพิมพ์ในการสื่อสาร
ในการแพทย์ เทคโนโลยี AR สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรค การอบรมแพทย์ หรือการสำรวจความคืบหน้าของการรักษา ทำให้การดูแลสุขภาพของคนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

related