svasdssvasds

องค์กรไทยกว่า 73.3 % มีแผนใช้ AI ในอนาคต เร่งวางกรอบธรรมาภิบาลการใช้ AI

องค์กรไทยกว่า 73.3 %  มีแผนใช้ AI ในอนาคต เร่งวางกรอบธรรมาภิบาลการใช้ AI

ศูนย์ AIGC by ETDA เปิดวงชวนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี จับเทรนด์ Gen AI 'หนุนองค์กรเร่งวางกรอบธรรมาภิบาลการใช้ AI หลังพบ องค์กรไทย กว่า 73.3 % มีแผนใช้ AI ในอนาคต ต้องเร่งวางกรอบจริยธรรมและธรรมาภิบาลการใช้ปัญญาประดิษฐ์

SHORT CUT

  • องค์กรไทยกว่า 73.3 %  มีแผนใช้ AI ในอนาคต เร่งวางกรอบจริยธรรมและธรรมาภิบาลการใช้ปัญญาประดิษฐ์
  • ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA ให้มุมมองว่า แม้ว่าการใช้ AI จะเติบโตต่อเนื่อง แต่ประเด็นเรื่อง AI Ethics หรือจริยธรรมการใช้งาน AI ยังเป็นจุดที่ต้องจับตามองอย่างมาก 
  • ผลสำรวจชี้ว่ามีเพียง 16.5% ขององค์กรไทยที่ได้นำแนวคิดด้านจริยธรรม AI มาปรับใช้จริง
     

ศูนย์ AIGC by ETDA เปิดวงชวนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี จับเทรนด์ Gen AI 'หนุนองค์กรเร่งวางกรอบธรรมาภิบาลการใช้ AI หลังพบ องค์กรไทย กว่า 73.3 % มีแผนใช้ AI ในอนาคต ต้องเร่งวางกรอบจริยธรรมและธรรมาภิบาลการใช้ปัญญาประดิษฐ์

 AIGC by ETDA หนุนองค์กรเร่งวางกรอบธรรมาภิบาลการใช้ AI  

ศูนย์ AIGC by ETDA เปิดวงชวนกูรูจับเทรนด์ Gen AI 'หนุนองค์กรเร่งวางกรอบธรรมาภิบาลการใช้ AI หลังพบ องค์กรไทย กว่า 73.3 % มีแผนใช้ AI ในอนาคต!

ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Center หรือ AIGC ) ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) เปิดเวที AI Governance Webinar 2024 "จับเทรนด์ AI พลิกโฉมทุกภาคส่วน...ใช้อย่างไรให้มีธรรมาภิบาล ?" ชวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้าน AI หลากหลายด้านร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง พร้อมเผยแนวโน้มโลกให้ความสำคัญ ด้านนจริยธรรม AI ชี้ทุกภาคส่วนต้องเร่งสนับสนุนองค์กรให้ตระหนักถึงความสำคัญอย่างมีธรรมาภิบาลสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล หลังผลสำรวจ AI Readiness Measurement  พบองค์กรไทยมีแผนใช้ AI เพิ่มถึง 73.3% ในอนาคต โดยกลุ่มการศึกษา - การเงิน - โลจิสติกส์ ติดโผพร้อมใช้ AI สูงที่สุด

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA กล่าวว่า การใช้ Generative AI ในภาคธุรกิจและองค์กรของไทยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยผลสำรวจ AI Readiness Measurement 2024 ระบุว่า สัดส่วนองค์กรที่เริ่มประยุกต์ใช้ AI ในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 17.8% จาก 15.2% ในปี 2566 และอีก 73.3% ขององค์กรแสดงความพร้อมที่จะนำ AI มาใช้งานในอนาคต โดย 3 อุตสาหกรรมที่มีการใช้ AI สูงสุดได้แก่ 1.การศึกษา 2.การเงินและการค้า และ 3.โลจิสติกส์และการขนส่ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้ AI จะเติบโตต่อเนื่อง แต่ประเด็นเรื่อง AI Ethics หรือจริยธรรมการใช้งาน AI ยังเป็นจุดที่ต้องจับตามองอย่างมาก ผลสำรวจชี้ว่ามีเพียง 16.5% ขององค์กรไทยที่ได้นำแนวคิดด้านจริยธรรม AI มาปรับใช้จริง และอีก 43.7% อยู่ในขั้นตอนการวางแผน การใช้งาน Generative AI ที่เข้าถึงง่ายต้องพิจารณาประเด็นจริยธรรมและธรรมาภิบาลให้รอบด้าน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

จับเทรนด์ Gen AI พลิกโฉมทุกภาคส่วน...ใช้อย่างไรให้มีธรรมาภิบาล ?

ใช้ AI อย่างไรให้มีธรรมาภิบาลบนกรอบจริยธรรม

ศูนย์ AIGC by ETDA ที่มีบทบาทในการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้ AI อย่างเหมาะสม ภายใต้กรอบธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ ล่าสุด ได้เปิดตัว "แนวทางการประยุกต์ใช้ Generative AI อย่างมีธรรรบากิบาลสำหรับองค์กร" (Generative Al Governance Guideline for Organizations)  ที่เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในองค์กร ให้เกิดความเข้าใจในการใช้ AI รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อกำหนดกรอบแนวทางการใช้งานภายในองค์กร ได้อย่างเหมาะสม และสานต่อสู่การเปิดเวทีเสวนา AI Governance Webinar 2024 ในหัวข้อ "จับเทรนด์ Gen AI พลิกโฉมทุกภาคส่วน...ใช้อย่างไรให้มีธรรมาภิบาล ?"

ชวนผู้เชี่ยวชาญด้าน AI หลากหลายมิติ ทั้งภาครัฐ นักพัฒนา นักกฎหมาย อาทิ ดร.ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ รองคณบดีด้านงานงานวิรัชกิจและนิตินวัตกรรมคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ AIGC Fellow, รศ.ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และ AIGC Fellow, คุณชัชวาล สังคีตตระการ นักวิจัย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, และ รจนา ล้ำเลิศ ที่ปรึกษา ETDA และหัวหน้าศูนย์ AIGC by ETDA มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองสะท้อนถึงเทรนด์และความสำคัญของจริยธรรมและธรรมาภิบาล AI ในเวทีโลก สู่การร่วมหาคำตอบถึงความพร้อมของไทยกับการใช้ AI อย่างไรให้เหมาะสม ลดเสี่ยง เป็นที่ยอมรับของสากลอย่างยั่งยืน

จับเทรนด์ Gen AI พลิกโฉมทุกภาคส่วน...ใช้อย่างไรให้มีธรรมาภิบาล ?
 

หลายประเด็นเรื่อง AI ที่น่าขบคิดต่อ

ในระหว่างการแลกเปลี่ยนมุมมองนั้น เต็มไปด้วยหลายๆประเด็นที่น่าขบคิดต่อ อาทิ ดร.ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ ตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ ว่าสุดท้ายแล้วกรอบของลิขสิทธิ์ของการ Gen AI นั้นเป็นอย่างไร ซึ่ง ตอนนี้ทั่วโลกก็ยังเป็นสิ่งที่เดินไปในจุดที่มีข้อสรุปไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ภูมิศิริ ให้มุมมองว่า เรื่องลิขสิทธิ์ของการ Gen AI นั้น อาจจะมองให้ลึกไปที่เจตนารมณ์ของแก่นแท้ของกฏหมายลิขสิทธิ์ 

ขณะที่ประเด็นการศึกษา กับ AI , รศ.ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ฉายภาพให้เห็นชัดว่า ตอนนี้ ทั่วโลกต่างตื่นตัวเรื่อง AI เป็นอย่างมาก , จากที่ตอนแรกๆ ที่ AI ได้รับการพูดถึงในวงกว้าง หลายๆฝ่ายเกรงกลัวการเข้ามาของ AI แต่ทว่า เวลานี้ ทุกอย่างได้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองไปทั้งหมด มีการใช้ AI ในการเรียนการศึกษามากขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว แก่นของการใช้ AI คือต้องมีการตรวจสอบจากมนุษย์ผู้ใช้งานเสมอ 

จับเทรนด์ Gen AI พลิกโฉมทุกภาคส่วน...ใช้อย่างไรให้มีธรรมาภิบาล ?

ด้าน ชัชวาล สังคีตตระการ นักวิจัย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อีกจุดหนึ่งที่อยากฝากสำหรับประเด็น AI คือ สิ่งที่น่ากังวลก็คือการใช้ AI ด้วยความไม่เข้าใจ และต้องตั้งประเด็นให้ดีว่า จุดไหนที่จะทำให้เราแยกแยะ AI ได้ 

 ด้าน น.ส.รจนา ล้ำเลิศ ที่ปรึกษา ETDA และหัวหน้าศูนย์ AIGC ETDA กล่าวว่า ในปี 2568 การใช้งาน AI จะถูกผลักดันภายใต้กรอบจริยธรรมและธรรมาภิบาลมากขึ้น เมื่อหลายประเทศเริ่มเห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงจาก Generative AI ผ่านกรณีศึกษาและการใช้งานจริง เช่น กรณี Gen AI ในต่างประเทศที่ให้คำตอบไม่เหมาะสมกับเยาวชน จนกระทบต่อสภาพจิตใจ จุดกระแสคำถามถึงขอบเขตการใช้งาน AI ทั้งในมิติของกฎหมาย เช่น ลิขสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของผลงาน ไปจนถึงจริยธรรมที่องค์กรต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ ไม่เพียงแต่ความน่าเชื่อถือขององค์กรที่อยู่บนเส้นด้ายของความโปร่งใสและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล แต่ยังรวมถึงการลดอคติในผลลัพธ์ AI ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจในระยะยาว


ศูนย์ AIGC by ETDA ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการขับเคลื่อนแนวทางการใช้ AI ที่เหมาะสมในประเทศไทย ด้วยการจับมือหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และพาร์ตเนอร์ด้านการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล สร้างหลักสูตรการเรียนการสอน พร้อมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้บุคลากรและนักพัฒนา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับองค์กรไทย นอกจากนี้ ยังเปิดตัว Guideline การใช้งาน AI อย่างมีธรรมาภิบาล และเผยแพร่เนื้อหาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งคู่มือออนไลน์ และบทความวิชาการผ่านเว็บไซต์ ETDA และเพจ ETDA Thailand


อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ ไทยพยายามผลักดันและจะเป็นผู้นำขับเคลื่อน จริยธรรมและการกำกับดูแลการประยุกต์ใช้ AI สู่การปฏิบัติจริงและเป็นที่ยอมรับในสากล ในปีหน้านี้ ประเทศไทย นำโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)  เตรียมเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานการประชุมนานาชาติครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก กับงานระดับโลก "UNESCO Global Forum for the Ethics of Al 2025" ภายได้แนวคิด Ethical Govemance of AI in Motion ระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน 2568 ณ กรุงเทพมหานคร โดยจะมีการแถลงข่าวความร่วมมืออย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป ผู้สนใจติดตามการถ่ายทอดสด รวมถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ทำให้คุณ #ชีวิตดีเมื่อมีดิจิทัล ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก ETDA Thailand ที่เดียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related