SHORT CUT
เครื่องปอดเหล็ก - Iron Lung คืออะไร ? เครื่องช่วยหายใจในอดีต เซฟผู้ป่วยโปลิโอให้มีชีวิตนานขึ้น ในวันที่โลกยังไม่มีวัคซีนโปลิโอ และล่าสุด "พอล ปอดเหล็ก" ได้เสียชีวิตลงแล้ว หลังจากเขาต้องใช้ "ปอดเหล็ก" ในการพยุงชีวิต มาตลอดกว่า 70 ปี
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวหนึ่งในต่างประเทศที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก , นั่นคือ "พอล ปอดเหล็ก" ได้เสียชีวิตลงแล้ว หลังจากเขาต้องใช้ "ปอดเหล็ก" ในการพยุงชีวิต มาตลอดกว่า 70 ปี
สำหรับ โลกยุค 2024 อาจจะไม่คุ้นเคย หรือบางคนอาจจะไม่รู้จัก "เครื่องปอดเหล็ก" กันแล้ว แต่ในอดีตนั้น เจ้าเครื่องปอดเหล็ก หรือ The iron lung เคยมีบทบาทสำคัญ และเป็นเครื่องมือ เป็นเทคโนโลยีในยุคอดีต ซึ่งมีส่วนช่วย เซฟผู้ป่วยโปลิโอให้มีชีวิตนานขึ้นมาแล้ว ก่อนที่โลกนี้ จะมี วัคซีนโปลิโอใช้กันอย่างแพร่หลาย นับตั้งแต่ปี 1955 เป็นต้นมา
ก่อนอื่นต้องเท้าความกลับไปไกลสักหน่อย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โรคโปลิโอ หรือ โรคไข้ไขสันหลังอักเสบ ซึ่ง โรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลันที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนเข้าทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และเซลล์ประสาทสั่งการทำให้กล้ามเนื้อ ณ ตอนนั้น โลกยังมีผู้ป่วยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อมีปัญหาก็ต้องมีทางแก้ เพราะโลกก็ได้มีการคิดค้น "เครื่องปอดเหล็ก" (Iron Lung / Drinker Respirator) เพื่อช่วยพยุงชีวิตของผู้ที่ป่วยเป็นโปลิโอ ณ เวลานั้น
โดยเครื่องปอดเหล็ก นั้น ถูกคิดค้นขึ้นโดย ฟิลลิป ดริงเกอร์ (Phillip Drinker) และ หลุยส์ อกาสสิซ ชอว์ (Louis Agassiz Shaw) แห่งโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ในช่วงต้นทศวรรษ 1920s โดยเป็น "เครื่องช่วยหายใจชนิดใช้แรงขับดันลบ" (Negative pressure ventilation) นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 เมื่อโรคโปลิโอแพร่ระบาดในสหรัฐอเมริกานั่นเอง
โดย กระบวนการทำงานของ "เครื่องปอดเหล็ก" จะมีมอเตอร์เป็นตัวควบคุม สำหรับเพิ่ม และลดแรงดันของอากาศภายในเครื่อง เมื่อปั๊มอากาศออก ความดันภายในเครื่องจะลดลง ทำให้ทรวงอกขยายขึ้น อากาศจะไหลเข้าปอดผ่านทางจมูก เป็นการหายใจเข้าอัตโนมัติ
ในทางกลับกัน เมื่อเติมอากาศเข้าไป เป็นการเพิ่มความดันในเครื่อง ก็จะกดให้ทรวงอกยุบลง ปอดจะแฟบ การลดและเพิ่มความดันสลับกันไปเช่นนี้ จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้เป็นจังหวะ จนกว่ากล้ามเนื้อทรวงอกจะแข็งแรงขึ้น และสามารถหายใจได้เอง
โดย ผู้ติดเชื้อรายที่เชื้อเข้าสู่ไขสันหลัง หรือคนที่เป็น โปลิโอในยุคนั้น มักจะมีอาการกล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง และอาการอันตรายที่สุด คือ อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อกระบังลม และกล้ามเนื้อระหว่างช่องซี่โครง ผู้ป่วย จึงไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้ ดังนั้นการรักษาชีวิตของผู้ป่วยโรคโปลิโอขั้นร้ายแรง จึงจำเป็นต้องใช้ "ปอดเหล็ก" ทำหน้าที่ช่วยหายใจ โลกในอดีต เครื่องๆนี้ ถือว่ามีประโยชน์ และมี คุโณปการ เป็นอย่างยิ่ง
ณ วันนี้ โลกกลับมาสะกิดใจกับ "เครื่องปอดเหล็ก" อีกครั้ง ...หลังจากที่ "พอล อเล็กซานเดอร์" ผู้ป่วยโปลิโอ และต้องถือว่า พอล เป็นชายคนสุดท้ายที่มีชีวิตอยู่ใน ปอดเหล็ก มายาวนาน และในอดีตที่ผ่านมาต้องใช้ชีวิตในเครื่อง "ปอดเหล็ก" มาตลอด ได้จากโลกนี้ไปแล้ว เมื่อช่วงวันจันทร์ที่ 11 มี.ค. 2024 ที่ผ่านมา ,
สำหรับ พอล ถือเป็นชายผู้ใช้เวลาส่วนใหญ่ตลอด 70 ปีที่ผ่านมาอยู่ใน "ปอดเหล็ก" , เขาเป็นทนายความและนักเขียน และจากโลกนี้ไปด้วยวัย 78 ปี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ชีวิตของพอลนั้น ราวกับนิยาย เพราะ เขาติดเชื้อโปลิโอตอน ปี 1952 ขณะอายุได้ 6 ขวบและเป็นอัมพาตตลอดชีวิต สามารถขยับศีรษะ คอ และปากได้เท่านั้น และหากจะบอกว่า เครื่องปอดเหล็ก คือ อวัยวะที่ 33 ของ พอล ปอดเหล็ก ก็คงจะไม่ผิดจากความเป็นจริง
ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ตรงนี้ , โลกของเรามีวัคซีนป้องกันโรคนี้แล้ว , และ วัคซีนโปลิโอ ก็ถือเป็น 1 ในวัคซีน 4 ชนิด ที่เด็กๆทุกคนควรได้รับ โดยวัคซีนที่เด็กทุกคนควรได้รับมีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ วัคซีนโปลิโอ วัคซีนคอตีบ วัคซีนไอกรน และวัคซีนบาดทะยัก เป็นวัคซีนที่ทางกระทรวงสาธารณสุขไทยกำหนดให้เด็กไทยรับตามอายุ
ครั้งหนึ่งในอดีต เครื่องปอดเหล็ก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโปลิโอเป็นอย่างมาก แต่ ณ ปัจจุบัน โลกมีเครื่องช่วยหายใจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรื่อยๆ บางชนิดสามารถพกพาได้ และ นวัตกรรมเครื่องปอดเหล็ก ก็คงจะหาดูได้ยากมากๆแล้ว...
โลกยิ่งหมุนไป ของใหม่ๆ ของที่มีเทคโนโลยี ล้ำกว่า และย่อมมีสิ่งที่ดีกว่าเดิม
ที่มา : bbc.com reuters.com bbc
ข่าวที่เกี่ยวข้อง