ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุดในเอเชีย ขณะเดียวกันคนไทยเป็นแฟนตัวยงของการใช้งานโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ จาก ผลการศึกษา “Digital Lives Decoded” โดย “เทเลนอร์ เอเชีย”
เทเลนอร์ เอเชีย เปิดเผยผลการศึกษา “Digital Lives Decoded” ซึ่งศึกษาพฤติกรรมการใช้งานบนโลกดิจิทัล โดยในข้อมูลพบว่า คนไทยเกือบ 9 ใน 10 ใช้เวลามากกว่าครึ่งวันบนมือถือและ 1 ใน 5 ใช้ชีวิตโดยมีมือถือติดตัวอยู่ตลอดเวลา
เพตเตอร์ บอเร่ เฟอร์เบิร์ค รองประธานกรรมการ และ ประธาน เทเลนอร์ เอเชีย เปิดมุมมองว่า คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือเสมือนเป็น “ดิจิทัลแพลตฟอร์มหลัก” กับทุกๆ กิจกรรมของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การใช้งานทั่วไป เพื่อความบันเทิง การเรียนรู้ รวมถึงการทำงาน
“เราได้เห็นทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้งานมือถือและอนาคตดิจิทัลของคนไทย คนไทยเปิดกว้างอย่างมากต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ และพร้อมที่จะก้าวตามให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งจากนี้คาดว่าการใช้งานจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างมาก”
โดยคนไทย 93% ใช้โทรศัพท์เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงิน และกว่า 74% ใช้มือถือเพื่อเปรียบเทียบราคา, 64% ค้นหาข้อเสนอที่ดีที่สุด, 49% ติดตามการใช้จ่าย
ปัจจุบัน เฟซบุ๊กยังคงเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมที่คนไทยใช้ในการเชื่อมต่อกับกลุ่มคน (57%) และรับข้อมูลข่าวสาร (52%) แต่ทั้งนี้มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระยะเริ่มแรก โดยเกือบหนึ่งในแปดของเยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 29 ปีได้รับข่าวสารจาก TikTok
ผลการศึกษา “Digital Lives Decoded” ระบุว่า การเล่นเกมบนมือถือยังคงเป็นกิจกรรมอดิเรกยอดนิยม คนไทย 44% กล่าวว่า พวกเขาใช้อุปกรณ์มือถือเพื่อเล่นเกมในทุกๆวัน โดยค่าเฉลี่ยของระดับภูมิภาคที่อยู่ที่ 30%
เพตเตอร์ บอกว่า คนไทยมีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนโทรศัพท์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ และน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกันซึ่งเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยมีผู้ตอบแบบ 21% กล่าวว่า พวกเขาไม่ได้กังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนค่าเฉลี่ยในระดับภูมิภาคอยู่ที่เพียง 8%
อย่างไรก็ตาม ชาวไทยมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ยังคงเป็นห่วงเยาวชนและผู้สูงอายุ
พวกเขาเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับความปลอดภัยทางออนไลน์ คือ การให้แนวทางสำหรับพฤติกรรมออนไลน์ (71%) และการพูดคุยอย่างเปิดเผย (61%)
ส่วนความกังวลต่อภัยออนไลน์ หลักๆ จะเป็นการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว (69%), การคุกคามทางออนไลน์ (57%) และบ่อยครั้งที่พวกเขาเผชิญกับข่าวปลอม การหลอกลวง และความรู้สึกติดกับโลกออนไลน์
นอกจากนี้ พวกเขายังเผชิญกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในระดับสูงสุดในภูมิภาค โดยเกือบครึ่ง หรือกว่า 47% รายงานว่าพวกเขาประสบปัญหานี้อย่างน้อยเดือนละครั้ง
อ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจ
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง