svasdssvasds

Cell Broadcast คืออะไร ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน ที่ประเทศไทยควรเร่งพัฒนา

Cell Broadcast คืออะไร ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน ที่ประเทศไทยควรเร่งพัฒนา

Cell Broadcast คือระบบอะไร เรามาทำความรู้จักระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินที่ทั่วโลกนิยมใช้กัน ซึ่งล่าสุดการประชุมรัฐสภา พรรคก้าวไกลได้เสนอให้มีการพัฒนา Cell Broadcast เพื่อกระจายข้อมูลฉุกเฉินผ่าน SMS

Cell Broadcast ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินที่หลายคนยังอาจยังไม่รู้จักดีพอ ซึ่งเราจะมาทำความรู้จัก Cell Broadcast กัน ว่ามันคืออะไร และจะช่วยเตือนภัยเราได้ดีกว่าการเสพข่าวสารจากโซเชียลอย่างไรบ้าง

Cell Broadcast คืออะไร?

Cell Broadcast คือระบบการส่งข้อความแบบกระจายจากเสาโทรศัพท์ ไปยังโทรศัพท์มือถือหลายเครื่องในพื้นที่ของเสาสัญญาณ พร้อมกันทั้งหมดในรอบเดียว ซึ่งจะทำให้การส่งข้อมูลต่างๆทำได้รวดเร็วและครอบคลุมทั้งพื้นที่ 

Cell Broadcast คืออะไร ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน ที่ประเทศไทยควรเร่งพัฒนา

การแจ้งเตือนของ Cell Broadcast แตกต่างกับ SMS ทั่วไปเพราะไม่ต้องระบุเบอร์โทรศัพท์ทำให้รวดเร็วกว่าการส่ง SMS มาก ซึ่งระบบนี้สามารถส่งถึงมือถือหลายล้านเครื่องในพื้นที่ได้ในเวลาไม่ถึง 10 วินาที และสามารถส่งข้อความได้สูงสุด 1395 ตัวอักษร ซึ่งแน่นอนว่าเพียงพอต่อการแจ้งเหตุการณ์และวิธีการรับมือกับเหตุการณ์นั้นๆ

Cell Broadcast คืออะไร ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน ที่ประเทศไทยควรเร่งพัฒนา

ระบบ Cell Broadcast สามารถทำงานได้โดยที่ประชาชนไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น แค่มีมือถือที่สามารถรับ SMS ได้ก็เพียงพอ เพราะเทคโนโลยีครอบคลุมทั้ง 2G,3G,4G และ 5G ทำให้เหมาะกับเป็นการแจ้งเตือนภัยมากกว่าเทคโนโลยีที่ไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน 

ซึ่งประเทศไทยได้มีแอปพลิเคชั่นเตือนภัยต่างๆมากมาย แต่ก็ติดเรื่องความยุ่งยาก ซึ่งประชาชนคนไทยทุกคนไม่ได้มีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นก็อาจพลาดกับการแจ้งเตือนไปได้ และนั่นจะทำให้ Cell Broadcast เข้ามาแก้ไขปัญหาในจุดนี้

ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 2548 ได้มีการร่วมมือกันระหว่าง AIS และกรมอุตุฯ ประกาศเริ่มใช้ระบบ Cell Broadcast แต่ในปีนี้ก็ไม่มีการนำออกมาใช้จริงแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าจะเกิดจากมีคดีมิจฉาชีพ Call Center ต่างๆ ที่อาจทำให้ SMS แจ้งเตือนเป็นข่าวปลอม หรือประชาชนมักถูกส่งข้อความก่อกวนเป็นจำนวนมาก จึงอาจต้องปิดบริการนี้ไปก่อน 

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์กราดยิงพารากอนก็ทำให้คนไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตระหนักได้ว่าประเทศไทยควรนำเทคโนโลยี Cell Broadcast เข้ามาใช้แก้ปัญหาและแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีโอกาสจะเกิดขึ้นอีกไม่ช้าก็เร็ว และหากยังไม่พัฒนาการแจ้งเตือนภัยให้เร็วที่สุด ก็อาจมีความเสียหายเกิดขึ้นมากกว่านี้ก็เป็นได้ 

ขณะที่วันนี้ (4 ต.ค. 2566) ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 19 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล ลุกขึ้นหารือก่อนเข้าสู่วาระการประชุม กรณีเหตุการณ์กราดยิงที่สยามพารากอน

โดยนายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนขอใช้พื้นที่สภาแห่งนี้แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์กราดยิงที่สยามพารากอนเมื่อวานนี้ และขอเสนอส่งต่อข้อเสนอ ไปยังหน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีกในอนาคต

“ผมขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงดิจิทัลฯ กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งรัดแผนการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยแบบ Cell Broadcast ที่จะเป็นการส่งข้อความเข้ามือถือทุกเครื่องในพื้นที่เกิดเหตุ” 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ที่มา : Gsma

related