อนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ได้พูดถึง Medtech Trends 2023 โดย ดร. สุนทร ศรีทา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรวมใจรักษ์ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆที่จะเข้ามาพัฒนาชีวิตคนไทย
โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ ได้พูดถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีการแพทย์ไทยในหัวข้อ 'Medtech Trends 2023' ซึ่งมีเทคโนโลยีการแพทย์ต่างๆที่โรงพยาบาลจะนำเข้ามาใช้ในอนาคต โดยจะช่วยให้การแพทย์ในประเทศไทยถูกพัฒนาและชีวิตคนไทยจะสะดวกสบายต่อการรักษาและดูแลสุขภาพมากขึ้น
ดร.สุนทร ศรีทา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรวมใจรักษ์ ได้กล่าวถึง 'Medtech Trends 2023' ไว้ดังนี้
1.New AI Application Investigation Diagnostic Treatment เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในทางการแพทย์ โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ เน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆนำมาใช้เพื่อให้สมบูรณ์สะดวกสบายในการให้บรนิการต่างๆ
ซึ่งเทคโนโลยี AI ค่อยๆแทรกซึมเข้ามาในวงการแพทย์หลายปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็น การตรวจวินิจฉัยในหลายๆเรื่อง เช่น การเอ็กซเรย์ มีการนำภาพเอ็กซ์เรย์ มาใช้ร่วมกับ AI ที่ช่วยให้แพทย์มองจุดบกพร่องต่าง ๆและยังมีการวินิจฉัยโรค ผลแล็บต่างๆ ว่าอาจจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง ช่วยให้แพทย์มีความรอบคอบในการรักษาได้มากขึ้น รวมถึงการรักษาต่างๆเช่น การใช้ยาแต่ละประเภท AI ก็จะช่วยให้การใช้ยาถูกต้องมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
2.Data Breach Prevention ในช่วง 2-3 ปีมีการแฮกข้อมูลในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้การแฮกข้อมูลจากโรงพยาบาลได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ทางโรงพยาบาลรวมใจรักษ์เองเราก็โดนโจมตีด้วยไวรัส และแฝงจนกลายเป็นมัลแวร์ทำให้ระบบไม่เสถียร ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีในโรงพยาบาลซึ่งควรคำนึงถึง Data Breach ที่ต้องให้ความสำคัญ
ก่อนหน้านี้ทางโรงพยาบาลใช้เพียงแค่ Password, Multi-Lock หรือ Fingerscan ก็เพียงพอ แต่ล่าสุดต้องใช้ Facial Recognation แล้ว และยิ่งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีโควิดจำเป็นต้องใส่หน้ากากก็ถูกพัฒนา Facial Recognation with mask หรือการสแกนใบหน้าผ่านหน้ากากอนามัย
3.Nano Medicine Precision Medicine การผลิตยา และใช้โรบอทเข้าไปตรวจสอบหรือช่วยเหลือการแพทย์ต่างๆ ซึ่งในอนาคตจะเข้ามาแน่ และปัจจุบันมีการใช้ Precision Medicine เช่น ในกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งบางกลุ่มให้ยาแล้วได้ผลและบางกลุ่มไม่ได้ผล การใช้ยากับคนไข้แต่ละราย ซึ่งเทคโนโลยีจะสามารถวิเคราะห์และตรวจยาที่เหมาะสมกับร่างกาย และยิ่งในกลุ่มมะเร็ง จำเป็นต้องให้ใช้ Genomic Targeted Therapies หรือการใช้ยาเฉพาะกลุ่มกับคนไข้แต่ละคน
4.Internet of Medical Things (IoMT) ทางการแพทย์ได้มีการใช้เทคโนโลยี IoT ใช้กับเครื่องมือแพทย์ชิ้นใหญ่ๆ ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อกับระบบส่วนกลาง หรือ Centrailized Control ไม่ว่าจะเป็น มอนิเตอร์ต่างๆ และอนาคตจะมี Personal Device เพิ่มมากขึ้น เช่น การเจาะเลือดที่บ้าน และเครื่องมือเจาะเลือดจะส่งข้อมูลมาในระบบกลางได้ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาและติดตามอาการง่ายขึ้น
ปัจจุบันเครื่องมือเริ่มจะเชื่อมโยงกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการวัดออกซิเจน การมอนิเตอร์ชีพจรการหายใจต่างๆ จะเข้ามาแชร์ข้อมูล ผ่าน Wearable Gadget ต่างๆ อย่างสมาร์ทวอชท์ ซึ่งในอดีตนาฬิกาสมาร์ทวอชท์ดูค่าได้เพียงไม่กี่อย่าง แต่ปัจจุบันสามารถวัดได้หลากหลายค่าและอนาคตจะวัดได้หลากหลายค่ามากขึ้น และค่าต่างๆจะถูกลิงค์ไปที่ระบบส่วนกลางหรือโรงพยาบาล ที่จะทำให้การดูแลคนไข้ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งยังคงต้องใช้เทคโนโลยี 5G, 6G เพื่อความเสถียรที่มากยิ่งขึ้น
5.Teleconsultation & Telemedicine ปัจจุบันมีการใช้การวินัจฉัย การรีโมท ชีพจร อาการต่างๆ การดูแลตัวเอง การให้ปรึกษาโดยแพทย์ Teleconsultation ที่สามารถทำที่ไหนก็ได้ เพื่อลดการเดินทาง และความสะดวกสบายในการรักษาแพทย์
6.Big Data ในประเทศไทยมีทั้งภาครัฐและเอกชนมีคนไข้มาโรงพยาบาลราว 200 ล้านคนต่อปี ซึ่งเรามีข้อมูลมากมายแต่ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลเป็น Single Data ซึ่งปัจจุบันทำให้เสียโอกาสในการวางแผน ป้องกันโรค เช่น โควิดถ้าเราลิงค์ข้อมูลได้ เราจะมองเห็นได้แบบเรียลไทม์ว่าโควิดเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง
7.VR & AR Mixed Reality in Healthcare การอบรมบุคลากรต่างๆ การฝึกสอนต่างๆในวงการแพทย์ จะสามารถทำได้ผ่านระบบหุ่นยนต์ ซึ่งเทคโนโลยี AR หรือ VR จะทำให้มีการพัฒนาการในการเรียนรู้และการรักษาคนไข้ได้รวดเร็วและพัฒนาบุคลากรได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น