SHORT CUT
ชวนให้คุณหลงรักและใส่ใจการนอน ผ่านเทคโนโลยีที่ช่วยให้คุณฝันหวานแก้ปัญหา "โรคนอนไม่หลับ" ที่มนุษย์ทำงานอ่านแล้วต้องหันมามาใส่ใจ
หลายคนเคยมีปัญหานอนไม่หลับส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย รู้สึกหงุดหงิดจนทำให้เกิดอารมณ์โมโหส่งผลต่อการทำงานตลอดการใช้ชีวิต
ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้มนุษยชาติตั้งคำถามว่าฉันจะนอนหลับสนิทได้กี่โมง เพราะการนอนเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่อาจพูดได้ว่า หากคุณนอนไม่หลับ อาจจะมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
SPRiNG ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรณรงค์ให้คนหันมาใส่ใจการนอน หากคุณนอนไม่หลับอย่าคิดว่าคุณเป็นคนเดียวแอดก็เป็นเช่นเดียวกัน
ว่าแล้วไปเปิดประสบการณ์หาที่มาที่ไปของปัญหาการนอน พร้อมเทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหาทำให้เรานอนหลับฝันดี ตื่นมาแฮปปี้มากยิ่งขึ้น ว่าแล้วไปชมกันเลย
เราเคยเอ๊ะไหมครับว่าทำไมถึงมีหลักการว่ามนุษย์เราเนี่ยต้องนอนหลับอย่างน้อย 1 ใน 3 ของวันหรือ 8 ชั่วโมงต่อวัน แม้จะเป็นเรื่องยากแต่มันเป็นผลดีการใช้ชีวิตมากมายเลยทีเดียว
ในทศวรรษ 1990 Thomas Wehr นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาได้ทำการทดลองการนอนหลับของมนุษย์โดยมีกลุ่มตัวอย่างทดลอง พบว่าภายใน 1 เดือนมนุษย์สามารถจดจำการนอนของตนเองได้ โดยมนุษย์จะหลับลึกเป็นเวลา 4 ชม. ก่อนจะสะดุ้งตื่นและหลับยาวอีกครั้ง
จนเมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 17-18 เป็นช่วงเวลาหายนะของการนอนก็ว่าได้ เพราะว่ายุคนั้นเป็นช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม แรงงานถูกป้อนเข้าสู่ระบบโรงงานระบบทุนนิยม จนพวกเขาต้องทำงานหนักเกิน 8 ชม.มีเวลาที่จะพักผ่อนน้อย สุขภาวะสถานที่อยู่อาศัยยากที่จะทำให้พวกเขาหลับสนิทได้ รวมถึงเด็กๆ ในยุคนั้นก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน
งานที่หนักส่งผลต่อมนุษย์เรื่องการนอนเรื่อยมาถึงแม้ว่าจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาแก้ปัญหาชีวิตให้กับแรงงานมากมาย แต่ปัญหาการนอนไม่หลับก็ยังคงอยู่ ในที่สุดจึงดุถือกำเนิดยานอนหลับขึ้นมาในปี ค.ศ.1903
ในยุคที่ยานอนหลับออกมาเรียกได้ว่าชาวอเมริกาหรือคนทั่วทุกมุมโลกที่มีปัญหานอนไม่หลับ ล้วนเสพติดเจ้ายานอนหลับอย่างบ้าคลั่งเพื่อจะให้นอนหลับได้อย่างสนิทใจ
แต่เจ้ายานอนหลับนี้เองส่งผลเสียอย่างมากมาย ไม่ว่าจะทำให้สับสนมึนงง ง่วงซึม ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ จนแพทย์ออกมาเตือนและพยายามให้คนไข้หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
มีผลการวิจัยออกมาในเรื่องของการนอนว่ามนุษย์ควรนอน 6-8 ชม. สร้างความกลัดกลุ้มใจให้มนุษย์งานไทยว่าจะทำอย่างไรให้ข่มตานอนหลับสนิทได้อย่างสบายใจเสียที จนนักวิทยาศาสตร์ หรือผู้ออกแบบเทคโนโลยีต้องออกแบบสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์หลับได้อย่างสบายใจออกมา เหมือนของวิเศษจากกระเป๋าโดราเอม่อน
1.เครื่องคาดศีรษะอัจฉริยะ Muse S
ต้นกำเนิดจากประเทศแคนนาดา เจ้าเครื่องนี้ใช้เทคโนโลยี Electroencephalogram (EEG) ตรวจสอบคลื่นในสมองเก็บข้อมูลขณะนอนหลับย้อนหลังเชื่อมเข้ากับสมาร์ทโฟน พร้อมมีเสียงดนตรีช่วยให้ผ่อนคลายระหว่างการนอนได้
2.หมอนนอนหลับลึก Alpha Pillow
ต้นกำเนิดจากประเทสอังกฤษ เป็นหมอนที่ออกแบบมาให้ลองรับสรีระร่างกายของมนุษย์ ใช้เทคโนโลยีเพียวซิลเวอร์ไฟเบอร์ มีคุณสมบัติทำความสะอาดตัวเองได้ ป้องกันแบคทีเรียช่วยให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้นและปลอดภัย
3.แหวน Galaxy Ring ติดตามคุณภาพการนอน
ต้นกำเนิดจากเกาหลีใต้ เทคโนโลยีสุดล้ำที่กำลังเป็นกระแสตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็น Galaxy Ring ที่เปิดตัวโดย Samsung โดยเจ้าแหวนนี้สามารถติดตามการนอนหลับ เก็บข้อมูลสุขภาพรวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจได้ แต่ Samsung ก็แอบแซะApple ผ่านเทคโนโลยีนี้นิดหน่อย โดยที่เจ้า Galaxy Ring ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ IPHONE ได้
4.หุ่นยนต์กอดอุ่น Somnox Sleep Robot
ต้นกำเนิดจากประเทศเนเธอแลนด์ เป็นหุ่นยนต์หมอนข้างที่สัมผัสนุ่มนิ่มชวนให้นอนกอดอ่างสบายใจสามารถวิเคราะห์อัตรการหายใจขณะนอนหลับได้ หากนอนไม่หลับแค่กอดหมอนหุ่นยนต์ไว้ข้างกาย จะช่วยไกด์จังหวะการหายใจของคุณให้ช้าและสม่ำเสมอตามการเคลื่อนไหวของหุ่นได้
จะเห็นได้ว่า “เทคโนโลยีดีต่อใจทำให้นอน” นั้นถูกคิดค้นจากหลากหลายประเทศทั่วโลก นั่นหมายความว่าปัญหาการนอนไม่หลับเป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกัน จนทำให้เกิดการคิดค้นเจ้าเทคโนโลยีเหล่านี้ขึ้นมา
ประเทศไทยเองควรตั้งคำถามกับสุขภาวการณ์นอนไม่หลับของประชาชน เพราะคนส่วนใหญ่ที่นอนไม่หลับคือแรงงาน หรือกำลังของชาติ ซึ่งค่อยๆ มีอัตราลดลงเรื่อยๆ เพราะหากพวกเขานอนไม่หลับต่อไปอาจส่งผลให้ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง การตอบสนองของสมองช้า ทำให้ทำงานช้าลง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง และภาวะสมองเสื่อมเร็วได้อีกด้วย
ดังนั้นเราต้องหันมาใส่ใจสุขภาวะของคนไทยเรื่องการนอน เพราะหากไม่ใส่ใจ สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลให้เราไม่มีประชากรที่มีประสิทธิภาพ รัฐหรือประชาชนต้องเสียเงินมากขึ้นในการรักษาโรคนอนไม่หลับและโรคที่ตามมา ซึ่งอาจทำให้โครงสร้างโรงงานไทยล่มสลายได้ทันที
“ดังนั้นเรื่องเหล่านี้จึงรอไม่ได้ เพราะอาจส่งผลให้ประเทศไทยอยู่ในภาวะนอนไม่หลับจนแข่งขันกับใครไม่ได้เลย”
ที่มา
BeCommon / Today.Line / กรุงเพทธุรกิจ / Baania / THESTANDARD
ข่าวที่เกี่ยวข้อง