svasdssvasds

เจ็บป่วยเล็กน้อย มีไว้ในตู้ยา! เช็กลิสต์ ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้าน

เจ็บป่วยเล็กน้อย มีไว้ในตู้ยา! เช็กลิสต์ ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้าน

ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 การไปในสถานที่ที่คนแออัดยังคงเป็นเรื่องที่ไม่แนะนำ หากเจ็บป่วยเล็กน้อย ยาสามัญประจำบ้าน สามารถช่วยนรักษาบรรเทาอาการขั้นต้นได้ มาเช็กกันดีกว่าว่ายาที่ควรมีติดตู้ยาที่บ้านนั้นมีอะไรบ้าง

ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาว่าเป็นยาที่เหมาะสม ที่ประชาชนสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เพื่อใช้รักษา บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เช่น ปวดหัว ตัวร้อน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก อาเจียน น้ำมูกไหล เมารถ เมาเรือ เป็นต้น รวมถึงการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น มีดบาด แผลถลอก เป็นต้น ซึ่งแต่ละบ้านควรมีชุดยาสามัญไว้อย่างน้อย 1 ชุด

ยาสามัญประจำบ้าน

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ลองเช็กลิสต์ ยาสามัญประจำบ้าน ดูว่าตู้ยาที่บ้านเรามียาอะไรบ้าง 

- กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ ได้แก่ พาราเซตามอล หรือ ยากลุ่ม NSAID (แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ฯลฯ)

- กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก เช่น คลอเฟนิรามีน

- ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เช่น ยาธาตุ ยาขับลม ยาลดกรด มหาหิงค์

- ยาแก้ท้องเสีย เช่น ผงนํ้าตาลเกลือแร่ ผงถ่าน

- ยาระบาย เช่น มะขามแขก ยาระบายแมกนีเซีย

- ยาถ่ายพยาธิลำไส้ เช่น ยาถ่ายพยาธิมีเบนดาโซล

- ยาทาโรคผิวหนัง เช่น ครีมฆ่าเชื้อ คาลาไมน์ ยากลากเกลื้อนน้ำกัดเท้า

- ยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก

- ยาบรรเทาปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย เช่น  ยาหม่อง

- ยาแก้ไอ ขับเสมหะ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ

- ยาตา เช่น ยาล้างตา ยาหยอดตา

- ยาปากและคอ เช่น ยาแก้ปวดฟัน ยากวาดคอ

- ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ ระคายคอ

- ยาใส่แผลสด ล้างแผล เช่น ยาแดง ยาเหลือง แอลกอฮอลล์ และนํ้าเกลือล้างแผล

- พลาสเตอร์ยา ผ้าก๊อซ เทปปิดแผล 

-วิตามินบำรุงร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินรวม วิตามินบีรวม

ยาสามัญประจำบ้าน

การเก็บรักษา ยาสามัญประจำบ้าน

-ควรเก็บไว้ในที่ที่แห้ง หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง

-จัดวางไว้ในที่สะดวกต่อการหยิบใช้

-เราสามารถหาซื้อยาสามัญได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยฉลากยาจะมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ในกรอบสีเขียวมีขนาดตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน และระบุคำว่า “ยาสิ้นอายุ” เพื่อแสดงวัน เดือน ปี พ.ศ. ที่ยาสิ้นอายุ

-ควรหมั่นตรวจสอบชุดยาเป็นประจำ หากพบยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุควรเปลี่ยนยาเพื่อความพร้อมต่อการใช้งาน

Cr. สำนักคณะกรรมการอาหารและยา / www.pobpad.com / คณะเภลัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์