เปิดเหตุผลที่ไทย ทำให้หมูแพงที่สุดเป็นประวัติการณ์ จากสมาคมองค์การของผู้บริโภค ร่วมฟังทางแก้ไขหมูแพงแบบยั่งยืนของไทยด้วย หมูหลุม คืออะไร? เดี๋ยวสรุปให้ฟัง
หมูไทยแพงเพราะ?
ราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม 110 บาทต่อกิโลกรัม
ที่ตลาดสด ราคาหมูสดหน้าเขียง 250 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี
สูงกว่าแอฟริกาใต้กว่า 3 เท่า
ยุโรป โลละ 40 - 50 บาทต่อกิโลกรัม
จีน 80 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงมากหากเทียบกับรายได้ของประชากร
ข้อมูลจาก สภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุ
หมูไทยแพงเพราะ?
1.การระบาดของ ASF หมูตายจำนวนมาก
ไทยพบการระบาดตั้งแต่ปี 62 ที่ จ.ราชบุรี ตายไป 2 ล้านตัว
แต่รัฐบาลยังไม่ประกาศการระบาดให้ชัดเจน ไม่ดำเนินการแก้ปัญหารูปธรรม
ไม่มีคำแนะนำการกำจัดหมูติดเชื้อ ไม่ชดเชยค่าเสียหาย เกษตรกรจึงเร่งขายหมูเป็นโรค
ทำให้การระบาดหนักขึ้น แพร่กระจายวงกว้าง
2.เกษตรกรรายย่อย หายไปจากตลาด 80 -90 % เพราะแบกรับต้นทุนมหาศาลไม่ไหว ทั้งค่าอาหารที่แพงขึ้น หมูล้มตายเพราะโรคระบาด
บางคนลงทุนทำฟาร์มหมูระบบดีๆ จมเงินไปเยอะ ทำให้รายย่อย ล้มหายตายจากไป
3.หมูลดลง เพราะเร่งส่งออก 2.7 ล้านตัว (ปกติ 5แสน - 7 แสนตัว) 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศแถบเอเชียเจอการระบาดASF ไทยอาศัยจังหวะนี้เร่งส่งออก
ดันมูลค่าจาก ร้อยล้าน เป็นหมื่นล้าน แต่ก็ยิ่งทำให้หมูในประเทศไม่เพียงพอ หายไป 30%
4.สุดท้าย หลายสิ่งผนวกรวมเข้ากัน ซ้ำเติมทำให้ราคาหมูแพงที่สุดในประวัติการณ์ และทำให้ราคาสินค้าวัตถุดิบอื่นพุ่งสูงตามไปด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เลี้ยงหมูหลุม หนึ่งทางแก้ปัญหาหมูแพง
ที่ทาง สภาองค์กรผู้บริโภค แนะเพื่อเติมหมูเข้าระบบให้ตลาดเกิดการแข่งขันมากขึ้น
และให้เกษตรกรรายย่อยที่ล้มหายไป กลับมาเลี้ยงหมูได้ด้วยธรรมชาติ ปลอดสารเคมี ต้นทุนไม่มาก
หมูหลุมคือ?
การเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ ในหลุมดิน ลึก 2 เมตร ด้วยวัสดุธรรมชาติ คือ ดิน แกลบ หัวเชื้อรา หรือ น้ำหมักผลไม้ เกลือ เพื่อช่วยย่อยสิ่งปฏิกูลในหลุมหมู (ขี้ เศษอาหารหมู) ต้นตอที่ทำให้เหม็น เอาพืชที่เกษตรกรปลูก มาเลี้ยงหมู และเอาขี้หมูไปปลูกพืช
ข้อดี หมูหลุม คือ
- ประหยัดต้นทุน เพราะอาหารและวัสดุรองพื้น หาได้ในท้องถิ่น
- ใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงได้จำนวนมาก
- กลิ่นก็ไม่เหม็น จึงไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดกลิ่น ทำให้หมูแข็งแรงอารมณ์ดี
- ไม่ต้องทำความสะอาดคอกบ่อย เพราะไม่ใช่พื้นปูน เมื่อสกปรกก็ตักออก
นี่เป็นสิ่งที่สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เสนอให้ องค์กรท้องถิ่น รัฐบาล สนับสนุนและช่วยเหลือ เกษตรกรรายย่อย และ กลาง หันมาเลี้ยงหมูหลุม ในพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดของ ASF
เพราะไม่ใช้สารเคมี ต้นทุนไม่สูง และช่วยให้เกิดการแข่งขันในตลาดค้าหมูอย่างเป็นธรรม
ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนหมู และราคาหมูที่แพงได้อย่างยั่งยืน