องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เผยวัคซีนโควิด HXP-GPO Vac วัคซีนเชื้อตายสัญชาติไทย ต้านโควิด-19 ได้ผลดี และเตรียมทดลองเฟส 2 ต่อ รวมถึงจะพัฒนาไปถึงการผลิตวัคซีนในกลุ่มเด็ก หรือหญิงตั้งครรภ์ จะเป็นแผนที่วางระยะต่อไปด้วย
นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม ภายใต้ชื่อ HXP-GPO Vac ได้เริ่มศึกษาวิจัยตั้งแต่ มิ.ย. 63 โดย วัคซีน HXP-GPO Vac ตัวนี้ ผ่านความร่วมมือกับสถาบัน PATH ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ส่งหัวเชื้อไวรัสตั้งต้นที่ชื่อว่า นิวคาสเซิล มาให้ โดยไวรัสตัวดังกล่าวจะก่อโรคในไก่ และจะถูกนำมาตัดแต่งพันธุกรรมให้มีโปรตีนส่วนหนาม (Spike protein) เหมือนไวรัสโควิด-19 จากนั้นจึงนำไปเพาะเลี้ยงในไข่ไก่ เมื่อได้เชื้อมากพอจะทำให้เชื้อตาย จึงเรียกว่าเป็นเชื้อตายแบบไวรัสเวกเตอร์ ดังนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวได้มีชื่อว่าวัคซีนเชื้อตายไวรัสเวกเตอร์ ถือเป็นลูกผสม ไม่ใช่เชื้อตายแบบธรรมดาทั่วไป
.
ด้าน ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์ องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันวัคซีนเชื้อตายไวรัสเวกเตอร์ขององค์การเภสัชฯ ภายใต้ชื่อ HXP-GPO Vac ได้ผ่านการทดลองในมนุษย์เฟสที่ 1 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากจำนวนอาสาสมัครทั้งหมด 210 คน ในอายุ 18-60 ปี
โดยผลการทดลองพบมีประสิทธิภาพดี เป็นที่น่าพอใจ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันและยับยั้งเชื้อทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม (อู่ฮั่น) และโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯเผยข่าวดี วัคซีน “ChulaCOV-19” สู้เชื้อกลายพันธุ์ 4 สายพันธุ์
เพจเพนกวิน ยัน ติดโควิด-19 ในเรือนจำ ซัด ราชทัณฑ์ ไม่ออกใบแจ้งผลตรวจให้
นายกมาเลเซีย ลาออก เซ่นโควิด-19 แต่ยังนั่งตำแหน่งนายกรักษาการณ์
ขณะที่ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน รักษาการหัวหน้าศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยในมนุษย์ครั้งนี้ กล่าวถึง การดำเนินการ ศึกษาวิจัย วัคซีนโควิด-19 HXP - GPO Vac ในมนุษย์ระยะที่ 1 ว่า การวิจัยระยะที่1 ผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ได้มีการศึกษาภูมิคุ้มกันอื่นๆหลายสายพันธุ์ ทั้งโควิดสายพันธุ์เดลต้า โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า โควิดสายพันธุ์เบต้า ที่มีการกลายพันธุ์ ซึ่งต้องมีการพัฒนาต่อการระบาดในขณะนั้น จะสามารถกระตุ้นภูมิต่อเชื้อวัคซีนได้ และเร่งการฉีดบูสเตอร์ กับเชื้อกลายพันธุ์ ซึ่งจะศึกษาในระยะต่อไปจากอาสาสมัครในระยะที่2 เป็นการศึกษายืนยันผลกับเชื้อกลายพันธุ์
.
โดยกลางปีหน้า 2565 คาดว่าคนไทยจะได้ใช้ วัคซีนโควิด-19 HXP - GPOVac แต่ ต้องขึ้นอยู่กับผลการทดสอบในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ตามแผนที่ได้วางไว้ด้วย
โดยได้รับการรับรองตามองค์การอาหารและยาหรือ อย. ซึ่งถือว่ารวดเร็ว และเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ด้วย ส่วนการพัฒนาขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่จะขยายการพัฒนาไปถึงการผลิตวัคซีนในกลุ่มเด็ก หรือหญิงตั้งครรภ์ จะเป็นแผนที่วางระยะต่อไป