ประเทศไทย มีตัวเลขผู้เชื้อโควิด-19 แบบนิวไฮ มาต่อเนื่องหลายวันแล้ว ล่าสุด 3 ก.ค. 2021 ติดเชื้อรายวัย 6,230 ราย ผู้ป่วยสะสมกำลังจะแตะ 250,000 รายในไม่ช้า ดังนั้นมาอัพเดท 10 สถิติของสถานการณ์โควิด-19 ในไทย ตอนนี้ไปแต่ละเรื่องไปถึงไหนกันแล้ว
1 .ประเทศไทย ฉีดวัคซีนโควิดไปแล้ว เกิน 10 ล้านโดส เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม ที่ผ่านมา โดยประเทศไทยเริ่มต้นระดมฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ก.พ.2021 นั่นหมายความว่า ประเทศไทยใช้เวลา 54 วันในการแตะหลักไมล์ 10 ล้านโดส ในช่วงเวลา 53 วันที่ผ่านมา แปลว่า ไทยมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิดเฉลี่ยอยู่ที่ วันละราวๆ 188,000 โดสต่อวัน
อย่างไรก็ตาม เรื่องกำหนดการเปิดประเทศใน 120 วันที่เป็นนโยบายของพลเอก ประยุทธ จันทร์โอชานั้น ถือยังห่างไกลจากความเป็นจริง เพราะ เป้าหมาตัวเลขที่ประเทศไทย ควรจะทำได้ คือ 502,000 โดสต่อวัน
(ที่มา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
2. ประเทศไทย ปัจจุบันฉีดวัคซีน 3 ชนิด
สำหรับจำนวน 10 กว่าล้านโดสที่ประเทศไทยฉีดวัคซันให้ประชากร มีวัคซีนทั้งหมด 3 ชนิด แบ่งเป็น
- วัคซีนซิโนแวค 62.6 % ราวๆ 6,400,000 โดส
- วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 36.8 % ราวๆ 3,760,000 โดส
- วัคซีนซิโนฟาร์ม 0.6% ราวๆ 57,830 โดส
(ที่มา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วันที่ 2 กรกฏาคม 2021)
3. ประเทศ ไทยขึ้นทะเบียนวัคซีนแล้ว 6 ชนิด
3.1 วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ขึ้นทะเบียน วันที่ 20 ม.ค 2021 นำเข้าโดย บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า และผลิตโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด
3.2 วัคซีนซิโนแวค ขึ้นทะเบียน วันที่ 22 ก.พ. 2021 นำเข้าโดยองค์การอาหารและยา
3.3 วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ขึ้นทะเบียนวันที่ 25 มีนาคม 2021 นำเข้าโดย บริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัด
3.4 วัคซีนโมเดอร์น่า ขึ้นทะเบียน 13 พ.ค. 2021 นำเข้าโดย บริษัท ซิลลิคฟาร์มา จำกัด
3.5 วัคซีนซิโนฟาร์ม ขึ้นทะเบียน 28 พ.ค 2021 นำเข้าโดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด
3.6 วัคซีนไฟเซอร์ ขึ้นทะเบียน 24 มิ.ย 2021 นำเข้าโดย บริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทยจำกัด
(หมายเหตุ วัคซีนสปุตนิค วี และ วัคซีนบารัตไบโอเทค อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซิโนแวค อาจป้องกันโควิดกลายพันธุ์ ไม่ได้ แล้วทำไมสั่งซื้อเกือบ 50 ล้านโดส ?
เช็กลิสต์ WHO ระบุ ประเทศที่มีโควิดสายพันธุ์เดลต้าระบาด ลุกลามเกือบ 100
4. ไทยฉีดครอบคลุมเปอร์เซ็นต์ ประชากร เป็นอันดับ 7 ของอาเซียน
ทั้งนี้ ประเทศไทย ฉีดวัคซีนให้ประชากรไปแล้ว ราวๆ 11 เปอร์เซนต์ แม้หากดูตัวเลข 10 ล้านโดสที่ดูเหมือนเยอะ แต่หากคิดในมุมว่าครอบคลุมประชากรเท่าไรนั้น ยังทำได้ไม่ดี เพราะเพิ่งครอบคลุมราวๆ 11 เปอร์เซนต์ของประชากรเท่านั้น และถือว่ายังอยู่อันดับ 7 ของอาเซียน จากทั้งหมด 10 ประเทศ โดยไทย ฉีดได้ครอบคลุมมากกว่า เพื่อนบ้านอาเซียน แค่ ฟิลิปปินส์ , เวียดนาม และ เมียนมา ส่วนประเทศอื่นๆที่เหลือไทยอยู่ในเปอร์เซนต์ที่ตามหลัง
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 106.5% เข็มที่2 94.9%
- อสม เข็มที่1 30% เข็มที่2 16.6%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 11.2% เข็มที่2 0.7%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 13.4% เข็มที่1 3.1%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 33.4% เข็มที่2 21.3%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 12.5% เข็มที่2 4.8%
รวม เข็มที่ 1 14.7% เข็มที่2 5.7%
.
ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 95,755,838 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 44,661,928 โดส (11.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า
2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 11,016,198 โดส (7.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ ซิโนแวค , ไฟเซอร์, สปุตนิค วี และ แอสตร้าเซนก้า
3. ไทย จำนวน 10,227,183 โดส (11.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ ซิโนแวค, แอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนฟาร์ม
4. มาเลเซีย จำนวน 8,346,697 โดส (18.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ ไฟเซอร์ , แอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนแวค
5. กัมพูชา จำนวน 7,408,517 โดส (25.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ ซิโนฟาร์มซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า
6. สิงคโปร์ จำนวน 5,365,803 โดส (55.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ ไฟเซอร์ และ โมเดอร์น่า
7. เวียดนาม จำนวน 3,813,767 โดส (3.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า
8. เมียนมาร์ จำนวน 3,368,042 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า
9. ลาว จำนวน 1,460,294 โดส (12,4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ ซิโนฟาร์ม และ สปุตนิค วี
10. บรูไน จำนวน 87,409 โดส (16.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ แอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนฟาร์ม
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ
(ข้อมูลจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
5. ส่วนตัวเลข รายงานผู้มีอาการข้างเคียงภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน
- 94.28% ไม่มีผลข้างเคียง
- 5.72% มีผลข้างเคียงไม่รุนแรง ประกอบด้วย ปวดกล้ามเนื้อ 1.37% , ปวดศีรษะ 1.02% , ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด 0.73% , เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 0.67% , ไข้ 0.45% , คลื่นไส้ 0.31% , ท้องเสีย 0.20 % ผื่น 0.17% , ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.13% ,อาเจียน 0.08%
6. วัคซีนลดการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้
ข้อมูลจากกระทรวงการศึกอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรกรรม ระบุว่า วัคซีนสามารถลดการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ จากกรณีศึกษาในภูเก็ต สมุทรสาคร และเชียงราย
แต่ ก็มีการยืนยัน ว่า ถึงแม้ จะฉีดวัคซีนแล้ว ยังมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ กรณีตัวอย่างก็เกิดขึ้นในหลายๆประเทศ อาทิ ชิลี , อิสราเอล , อังกฤษ และ ออสเตรเลีย
7. จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่ 1 23.70% เข็มที่ 2 8.18% ประกอบด้วย
- กรุงเทพฯ เข็มที่ 1 32.36% เข็มที่ 2 10.73%
- สมุทรสาคร เข็มที่ 1 19.42% เข็มที่ 2 11.88%
- นนทบุรี เข็มที่ 1 18.74% เข็มที่ 2 7.50%
- สมุทรปราการ เข็มที่ 1 16.50% เข็มที่ 2 4.02%
- ปทุมธานี เข็มที่ 1 10.25% เข็มที่ 2 3.55%
- นครปฐม เข็มที่ 1 5.91% เข็มที่ 2 2.02%
.
จังหวัดอื่นๆ 71 จังหวัด เข็มที่ 1 5.88% เข็มที่ 2 2.27% โดยจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีประชากรฉีดวัคซีนเข็มแรกมากที่สุดถึง 70 เปอร์เซนต์
- ภูเก็ต เข็มที่ 1 70.25% เข็มที่ 2 56.09%
- ระนอง เข็มที่ 1 26.09% เข็มที่ 2 6.50%
- สุราษฎร์ธานี เข็มที่ 1 13.34% เข็มที่2 6.50%
- เกาะสมุย เข็มที่ 1 59.32% เข็มที่ 2 42.15%
- เกาะเต่า เข็มที่ 1 44.31% เข็มที่ 2 11.84%
- เกาะพะงัน เข็มที่ 1 22.49% เข็มที่ 2 6.17%
(ข้อมูลจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
8. วัคซีนของไทย มีอย่างน้อย 3 ชนิด ที่กำลังทดสอบกับมนุษย์
- วัคซีน ChulaCov19 เป็นวัคซีน mRNA พัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-วัคซีน HXP-GPOVac เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย พัฒนาโดย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม. มหิดล และ องค์การเภสัชกรรม
- วัคซีน COVIGEN เป็นวัคซีนชนิด DNA พัฒนาโดยบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด บริษัทร่วมไทย-ฝรั่งเศส บริษัทเทคโนวาเลีย
9. ตั้งเป้า 50 ล้านคน ได้ฉีดภายในปี 2021
ทั้งนี้ ประเทศไทย ปักเป้าหมายหลักคือ คนไทยสามารถได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และคนไทย 50 ล้านคนจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ภายในเดือนตุลาคม
10. เป้าหมายการจัดหาวัคซีน คือ 150 ล้านโดส
เจรจาแล้ว 105.5 ล้านโดส แบ่งเป็น วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 61 ล้านโดส , วัคซีนซิโนแวค 19.5 ล้านโดส , วัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส และ วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 5 ล้านโดส
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแค่การเจรจา แต่ยังไม่มีกำหนดที่ชัดเจนว่า ทั้ง 105.5 ล้านโดสจะมี ไว้ฉีดให้ประชาชนเมื่อไร ?
นอกจากนี้ ไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนเจรจาหาวัคซีนเพิ่มอีก นั่นคือ เจรจาขอซื้อซิโนแวค เพิ่มอีก 28 ล้านโดส และ วัคซีนอื่นๆ 22 ล้านโดส รวมเป็น 50 ล้านโดส